Sunday, November 15, 2015

Strategic Thinking is a habit - not a skill

เรียนรู้วิธีคิดเชิงกลยุทธ์ จาก นิทานหิ่งห้อย
» โดย : ดร.ธัญ ธำรงนาวาสวัสดิ์

`Strategic Thinking is a habit ; not a skill´
-- การคิดเชิงกลยุทธ์ เป็นนิสัยไม่ใช่ความสามารถ --

ช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่านมา ผมใช้เวลาส่วนใหญ่กับองค์กรต่าง ๆ ในหลักสูตร “Strategic Thinking”

นัยว่า...หลายองค์กรตระหนักถึงสองประเด็น

1) ความเร่งด่วนของสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง
เช่น Asian Economic Community ที่จะมาถึงอยู่รอมร่อ

2) ช่วงว่างระหว่างผู้นำที่จะเกษียณกับผู้บริหารที่จะขึ้นมาทดแทนเป็น Successors ...
จึงต้องเร่งสปีดการเตรียมความพร้อมด้านการคิดเชิงกลยุทธ์

.
----------------------------------
.

Insight ที่เกิดในสมองผมคือ...

“การคิดเชิงกลยุทธ์ไม่ใช่ความสามารถ” ที่จะเรียนกันเฉพาะในวันสองวัน แต่มันคือนิสัย หรือ Habit

เด็กน้อยได้ยินเรื่องราวกล่าวขานมานาน... หากใครได้จับหิ่งห้อยมาเก็บเอาไว้ใต้หมอน

นอนคืนนั้นจะฝันดี ฝันเห็นดวงดาวมากมาย ฝันเห็นเจ้าชายเจ้าหญิง ฝันแสนสวยงาม

นี่คือ การคิดแบบ Fixed Mindset ว่ากลยุทธ์เป็นทักษะ
ที่สามารถเอาคนมานั่งเรียนวิธีเขียน Vision Mission Strategies สองสามวัน

หรือมานั่ง Brainstorm กันหาความคิดใหม่ ๆ แล้วจะบรรลุผลสำเร็จ

คล้ายว่าสมองเป็นหิ่งห้อย จับเอามาขังไว้ในกล่องแล้วคืนนั้นจะฝันดี
อย่างที่พี่จุ้ย ศุ บุญเลี้ยง ไอดอลของผมร้องไว้ใน ‘นิทานหิ่งห้อย’ กับวงเฉลียง

.
----------------------------------
.

หากสมองไม่ได้ทำงานอย่างนั้น
ระบบ Default Network คือ หัวใจของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
ฝรั่งเรียกว่า Thinking by not thinking

เพราะระบบนี้จะทำงานเมื่อเรา ‘หยุดบังคับ’
เช่น หนึ่งในเวลาที่สมองคิดได้ดีที่สุดคือ ระหว่างที่เจ้าของนอนหลับ
เราจึงมักได้ความคิดใหม่ ๆ ดี ๆ ยามเช้าเมื่อตื่นขึ้น

ครึ่งหนึ่งของรางวัลโนเบลในปี 1981 มอบให้กับ Dr. Roger Sperry
ผู้เป็นที่มาของการแบ่งสมองเป็นซีกซ้ายและขวา

ส่วนอีกครึ่งหนึ่งมอบให้กับ Dr. David Hubel and Dr. Torsten Wiesel
ผู้ศึกษาเรื่องการทำงานของเซลส์สมอง

เป็นงานวิจัยที่เติบโตมาสู่ความเข้าใจในปัจจุบันว่าสมองทำงานเป็นสังคม เป็นเน็ตเวิร์คเหมือนเฟสบุ๊ค (Neuronal Network)

และอาศัยการแบ่งปันข้อมูลเพื่อนำไปสู่นวัตกรรมความคิดใหม่ ๆ ในสมองมนุษย์

วิธีคิดเชิงกลยุทธ์ที่ดีที่สุดคือ การคิดบ่อย ๆ คิดเสมอ ๆ เจออะไรก็คิด ก็ตั้งคำถาม ตั้งข้อสังเกต

พี่จิก-ประภาส ชลศรานนท์ เคยให้เคล็ดลับไว้ว่า “ความคิดเหล่านั้นจะตกตะกอนเองในภายหลัง”

.
----------------------------------
.

💡
ข้อคิดสำหรับผู้นำสมอง

1) ฝึกคิดให้เป็นนิสัย

การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นนิสัย...ไม่ใช่ความสามารถ

นิสัยคือสิ่งที่คุณทำซ้ำ ๆ จนไม่ต้องกำหนดให้ตนเองทำอีกต่อไป

องค์กรอาจช่วยคนของคุณสร้างนิสัยเหล่านี้ได้ด้วยการ ‘บังคับ’ ให้คิดอย่างสม่ำเสมอจนติด

เหมือน Google ที่ให้เวลา 20% ต่อสัปดาห์กับพนักงานเพื่อคิดโน่นคิดนี่
แล้วมีเวทีเพื่อแชร์ความคิดของแต่ละคน

หรืออย่างน้อย ๆ ก็ ‘อย่าขัดขวาง’ เวลาคนอยากคิด
ลูกน้องมีไอเดียจะนำเสนอ แม้จะดูไร้เหตุผลและไม่เห็นด้วยเพียงไร
หัวหน้าควรปล่อยให้พูดปล่อยให้ลอง

เพราะวัตถุประสงค์คือการฝึกคิดให้เป็นนิสัย...ไม่ใช่การหาคำตอบ

.
----------------------------------
.

2) ฝึกคิดอย่างนิทานหิ่งห้อย

Growth Mindset คือ การหยุดขังสมองไว้ใต้หมอน
แทนการเรียกคนที่เกี่ยวข้องมานั่งประชุมครั้งละสองสามชั่วโมงที่กำกับโดยหัวหน้า

ควรใช้วิธีที่เป็นมิตรต่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในสมองมากกว่า

อาจให้มารับบรีฟหัวข้อและวัตถุประสงค์สักครึ่งชั่วโมง...
หลังจากนั้นมอบสมุดโน้ตให้หนึ่งเล่มพร้อมปากกา
บอกพวกเขาว่าอีกหนึ่งสัปดาห์เราจะมาพบกันใหม่

หน้าที่ของเขาคือ “จดทุกความคิดที่เกิดขึ้นในหัวระหว่างนี้” แล้วนำกลับมาแชร์กันตอนนั้น

ผมเชื่อว่าองค์กรจะได้คำตอบใหม่ ๆ ของปัญหาเดิม ๆ
 มากกว่าการขังเขาไว้ในห้องเพื่อ brainstorm

.
----------------------------------
.

3) ฝึกให้รักในสิ่งที่ทำ

วิธีคิดถึงกลยุทธ์...มีสองประเภท

#1 กลยุทธ์เป็นศาสตร์ ที่เรียนได้ศึกษาได้
เช่น Game Theory, BCG Growth Share Matrix, Blue Ocean Strategy ฯลฯ

#2 กลยุทธ์เป็นศิลป์ ที่เกิดขึ้นจากความรัก ความลุ่มหลง และความมุ่งมั่นในสิ่งที่ทำ
เช่น Sam Walton กับ Wal-Mart
หรือ Steve Jobs กับ Apples
หรือ Howard Schultz กับ Starbucks

สมการที่ดีคือ ต้องมีทั้ง #1 และ #2 อย่าหลงยึดติดกับสมองจนลืมหัวใจ

หากคุณฝึกรักและหาทางฝึกให้สมาชิกของคุณรักในสิ่งที่ทีมทำ
กลยุทธ์จะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อทุกเวลา

เหมือน...

"หิ่งห้อยนับร้อยนับพันที่สว่างไสวอยู่บนต้นลำพู

เด็กน้อยนอนหลับสบาย อมยิ้มละไม
ใต้หมอนไม่มีกล่องอะไร ไม่มีสิ่งใด ๆ ถูกขัง

นอนคืนนั้นจึงฝันดี ฝันเห็นดวงดาวมากมาย
ฝันเห็นเจ้าชายเจ้าหญิง...

...ฝันแสนสวยงาม"

.
----------------------------------
.

Credit บทความ : ดร.ธัญ ธำรงนาวาสวัสดิ์
 - ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท ออคิด สลิงชอท | CEO Blogs - กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์

No comments:

Post a Comment