Tuesday, December 22, 2020

naughty

#โอกาสที่ถูกปิดกั้น

หมอมีประสบการณ์ในห้องตรวจกับเด็กชายวัย 7 ขวบ ที่น่าสนใจเลยอยากเอามาเล่าให้ฟังค่ะ 

การตรวจเริ่มต้นขึ้นด้วย 

"อย่าหยิบลูก นี่ของคุณหมอ"
"นี่เล่นไม่ได้นะ อย่าซน"
"จะลุกทำไม นั่งเฉยๆ ได้มั่งมั้ยเนี่ย เดี๋ยวก็ให้หมอฉีดยาซะเลย"
"ซนมากกกค่ะหมอ ไม่รู้เป็นสมาธิสั้นรึเปล่า"

ตลอดเวลาไม่ถึง 5 นาที ที่มีเสียงคุณแม่คอยกำกับพฤติกรรมของลูกอยู่ตลอด 

"เสียง" ที่ก็ไม่สามารถหยุดพฤติกรรมอะไรได้จริง
และเป็น "เสียง" ที่อาจบั่นทอน "ตัวตน" ของลูกซ้ำๆ

ในจังหวะที่เด็กชายยื่นมือมาจับที่หูฟังของหมอที่วางอยู่บนโต๊ะ หมอก็คว้าหูฟังไว้ และบอกว่า 

"หนูสนใจหูฟังหรอจ๊ะ รู้มั้ยมันเอาไว้ทำอะไร"
"เอาไว้ฟังหัวใจ"
"ใช่ เก่งมากจ้ะ หนูคงอยากเล่น แต่ของตรวจของหมอจะหยิบเล่นเองไม่ได้นะ"
"ผมขอจับดูได้มั้ย"
"ดีมากเลยจ้ะ ที่หนูรู้จักขอก่อน อยากฟังหัวใจแม่มั้ย ลองฟังดูสิ"
แล้วเด็กชายก็ใส่หูฟัง ฟังเสียงตุ๊บๆ ของหัวใจแม่ และขอมาฟังเสียงหัวใจหมออย่างตื่นเต้น

ต่อมาเด็กชายก็หันไปหยิบ สำลีแอลกอฮอล์ที่อยู่ในแพค 
"นี่อะไรครับ หยิบดูได้มั้ย"

ยังไม่ทันตอบ เสียงแม่ก็ดังขึ้น "อย่าเล่น เล่นไม่ได้"

"ดีมากเลยที่หนูรู้จักถามก่อน แล้วหนูคิดว่ามันคืออะไรจ๊ะ"

เด็กชายใช้ความคิด ทายว่าเป็นนู่นนี่อยู่พักใหญ่ ขณะทาย หมอก็ชมว่าเค้ามีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีมาก มันคล้ายอะไรที่เค้าว่าจริงๆ 

สุดท้าย... หมอเฉลยว่ามันเป็นสำลีแอลกอฮอล์ 

พอดีกับเหลือบไปเห็นรอยปากกาที่โซฟา เลยถามเด็กว่า "ลองช่วยหมอลบหน่อยได้มั้ย มีเด็กมาขีดไว้โซฟาเลอะเลย"
"ผมเปล่าทำนะ"
"จ้ะ หมอรู้จ้ะ แค่อยากให้ช่วยลบหน่อย ลองดูซิว่าแอลกอฮอล์มันจะใช้ลบปากกาได้มั้ย"

แล้วเด็กชายก็กุลีกุจอ ยืนขัดรอยปากกาด้วยแอลกอฮอล์อยู่นานสองนาน จนนักศึกษาแพทย์ สามารถซักประวัติกับคุณแม่จนเสร็จ 

"ลบไม่ออก ไม่น่าเอาปากกามาขีดเลย โซฟาหมอเสียหมด"
"ช่าย หมอก็เพิ่งรู้นะเนี่ย ว่าปากกาขีดโซฟาแล้วเลอะบางทีจะลบไม่ออก นึกว่าจะลบได้"
"ต้องคอยระวังไม่เอาปากกาไปขีดโซฟา"
"จริงเลยจ้ะ"

แล้วการตรวจที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายในตอนแรก ก็จบลงด้วยเสียงที่ดังขึ้น ก่อนออกจากห้อง

"แม่ครับๆๆๆ"....

"ผมอยากเป็นหมอ"

หมอเอาเรื่องนี้มาเล่า เพราะประโยคสุดท้ายก่อนออกจากห้องของคนไข้ หมอเชื่อว่ามันสอนอะไรพ่อแม่หลายอย่าง

ในชีวิต ไม่รู้กี่ครั้งที่เรา "ปิดกั้นการเรียนรู้" ของลูก ด้วยเสียงบ่น ห้าม ต่อว่า 

การห้าม การบ่น ที่ไม่ช่วยพัฒนาอะไร และยังปิดกั้นการเรียนรู้มากมายที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

การต่อว่า ที่ลดความนับถือในตัวเองของเด็กคนหนึ่งซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ในขณะที่...

การตั้งคำถาม... ทำให้เกิดการคิดวิเคราะห์และเรียนรู้
การให้ลงมือทำ... ช่วยสร้างความนับถือตัวเอง
การเปิดโอกาส... ทำให้เด็กได้ค้นพบโอกาส
การปล่อยให้เรียนรู้จากผลลัพธ์... ที่สอนเด็กมากกว่าคำพูด

และวิธีเหล่านี้ก็เป็นวิธีที่ช่วยปรับปรุงพฤติกรรมของลูกได้เช่นกัน

รักลูก... นอกจากการคอยห้าม ลองมองหาวิธี ที่จะช่วยลูกให้เรียนรู้และเติบโตขึ้นกันนะคะ

#หมอโอ๋เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน 

https://m.facebook.com/takekidswithus/photos/a.1383694941947854/1732333073750704/?type=3

Saturday, December 19, 2020

6-year-old boy

คุณพ่อพาลูกสองคนไปเล่นมินิกอล์ฟ

“ค่าตั๋วเท่าไหร่ครับ” พ่อถามเด็กขายตั๋ว

“ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 6 ขวบขึ้นไป 100 บาท เด็กกว่านั้นฟรีครับพี่”

“คนเล็กผม 4 ขวบ คนโตผมเพิ่ง 6 ขวบ งั้นผมต้องจ่าย 300 บาทสินะ”

“จริงๆ ถ้าพี่บอกผมว่าคนโตอายุยังไม่ถึง 6 ขวบก็ได้นะ ยังไงผมก็ดูไม่รู้อยู่แล้ว”

“ใช่...แต่ลูกผมรู้นี่”


https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=230492681768939&id=100044246268437

Thursday, December 17, 2020

80-20

"กฏของพาเรโต"

ในปี 1895 วิลเฟรโด พาเรโต นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลี่ยนได้สร้างกฏแห่งความสมดุลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่มีความสำคัญและสิ่งที่ไม่มีความสำคัญเอาไว้อย่างเฉียบคม กฎดังกล่าวอธิบายถึง สิ่งที่มีประโยชน์จะมีอยู่เป็นจำนวนที่น้อยกว่าสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ซึ่งมีจำนวนที่มากกว่า ในอัตราส่วน 20 ต่อ 80 หรือ ที่เรียกกันว่า กฎ 80/20 นั่นเอง 

ข้อผิดพลาดในการผลิตหรือของมีตำหนิผิดพลาดจากการผลิต 20% นั้น เป็นปัญหา 80% ของปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด 

ในร้าน 7-11 มีสินค้าเป็นจำนวนมากหลายพันรายการ แต่รายได้กว่า 80% กลับมาจากรายการสินค้าเพียง 20% จากรายการสินค้าทั้งหมดที่วางขาย

เสื้อผ้าทั้งหมดของเรา จะมีตัวเก่งที่เราสวมใส่ประจำอยู่เพียงไม่กี่ตัวหรือเพียง 20 % เท่านั้นเอง 

หากเราจะอ่านหนังสือสอบ จะมีเนื้อหาเพียง 20 % ในเล่มเท่านั้นที่ออกข้อสอบ แต่ประเด็นสำคัญคือ เนื้อหาส่วนนี้อยู่ที่ไหนของเนื้อหาทั้งหมดภายในเล่ม

คนที่เจริญก้าวหน้าซึ่งเป็น 20% ของคนทั้งหมด จะมีลักษณะจดจ่ออยู่กับกิจกรรมที่ไปสู่จุดมุ่งหมายหลักของชีวิต ทำในสิ่งที่ต้องทำหรือทำให้รู้สึกดี อาจจะทำในสิ่งที่ไม่ต้องการบ้าง แต่ทำเพราะว่ามันเป็นหนทางไปสู่เป้าหมายภาพรวมที่หวังไว้ สามารถหาคนทำในสิ่งที่ไม่อยากทำหรือไม่ถนัดที่จะทำได้ และสุดท้ายคือ มีความสุขที่ได้ทำ ส่วน 80% ที่เหลือ จะทำงานอยู่กับสิ่งที่คนอื่นต้องการให้ทำ แต่ตัวเองไม่ได้มีส่วนลงทุนอะไรตรงนั้นเลย

เมื่อใดก็ตามที่คุณเผชิญหน้ากับงานที่ยากลำบาก ขอให้สร้างทางเลือกในรูปแบบของกฏพาเรโตไว้ในใจโดยการถามตัวเองก่อนว่า สิ่งไหนที่เราควรจะเน้นเป็นอันดับแรก หลีกเลี่ยงการเลือกลำดับที่สอง แต่ให้กำหนดเป็นเป้าหมายที่สองแทน เพราะการมีตัวเลือกมาก อาจทำให้เราสับสันและไม่แน่ใจในตนเอง ฉะนั้นการจำกัดทำให้มันแคบลง จะช่วยให้เรามองเห็นวิถีทางที่ควรไปและสำคัญมากที่สุดครับ

https://m.facebook.com/wirodePAG/photos/a.1636356973256434/1965094407049354/