Saturday, November 21, 2020

Understand kids unhappyness

เมื่อลูกมาเล่าความทุกข์ให้ฟัง สิ่งที่พ่อแม่สามารถแสดงความเข้าใจ ประกอบด้วย

• เข้าใจความรู้สึก (โกรธ เสียใจ เศร้า ผิดหวัง อาย ฯลฯ)
เช่น “ลูกคงโกรธน้องมากที่ น้องทำอย่างนั้น”

• เข้าใจการรับรู้และมุมมอง
เช่น “ลูกคงคิดว่าแม่ไม่ยุติธรรมใช่มั้ย”

• เข้าใจความต้องการ (ความรัก ความสนใจ การยอมรับ ความเข้าใจ การให้เกียรติ ความเชื่อใจ ฯลฯ)
เช่น “ลูกคงจะอยากให้เพื่อนนึกถึงหนูให้มากกว่านี้ใช่มั้ย”

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=849208468593855&id=257704944410880

Friday, November 6, 2020

The Real-Life MBA

แจ็ก เวลช์ เป็นผู้บริหารชาวอเมริกัน ที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากการขึ้นมาเป็น CEO ของบริษัท General Electric หรือ ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “GE” ในช่วงปี 1981-2001 

เขาเป็นคนที่นำพาบริษัทที่ถูกมองว่ากำลังอยู่ในยุคตกต่ำ ผงาดสู่การเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกได้สำเร็จครั้งแรกในปี 1994 และแข่งกันขึ้นครองตำแหน่งนี้กับ Microsoft จากนั้นมาอีกเป็นเวลาหลายปี

แจ็ก เวลช์ ได้แชร์แนวคิดในการเป็นผู้นำของเขาไว้ในหนังสือชื่อ “The Real-Life MBA” 
ซึ่งสรุปได้เป็นแนวคิดง่ายๆ 5 ข้อ คือ

1.ใส่ใจลูกทีมให้มาก
ผู้นำคือคนที่ต้องออกไปทำความรู้จักผู้ใต้บังคับบัญชาของตัวเองให้ดี 
ผู้นำที่ใส่ใจ เปรียบเหมือนโค้ชที่ยืนอยู่ข้างสนาม เพื่อติดตามการแข่งขันของลูกทีม และตื่นเต้นไปด้วยเสมอเมื่อลูกทีมทำผลงานในสนามได้ดี

2.อธิบายให้ลูกทีมเข้าใจว่ากำลังทำงานไปเพื่ออะไร
ผู้นำต้องทำหน้าที่กำหนดเป้าหมายให้กับทีม
รวมถึงต้องอธิบายลูกทีมให้ชัดเจนว่า จุดไหนคือจุดที่เรากำลังไป
การทำแบบนี้ จะช่วยให้คนในทีมมีจุดโฟกัสในการทำงาน และรู้ว่าความหมายของสิ่งที่ตัวเองกำลังทำ

3.คอยกำจัดอุปสรรคที่ขวางทางลูกทีม
ผู้นำต้องคอยขจัดกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ หรือเงื่อนไข
ที่ทำให้การทำงานของลูกทีมเป็นเรื่องยาก

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคนในทีมคิดค้นวิธีการทำงานที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า แต่ติดเรื่องข้อกำหนดเดิมๆ ผู้นำก็ต้องทำหน้าที่กำจัดข้อกำหนดเหล่านั้นออกไป เพื่อให้ลูกทีมทำงานได้ง่ายขึ้น

4.แสดงถึงความใจกว้าง
ความใจกว้างที่ว่านี้ แสดงออกได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การชมเชย การขึ้นเงินเดือน หรือการให้โบนัส เมื่อลูกทีมทำผลงานที่ดีให้กับทีมและองค์กร

5.ทำให้ลูกทีมมั่นใจว่าการทำงานเป็นเรื่องสนุก 
เช่น กล่าวชมเวลาลูกทีมบรรลุเป้าหมายย่อยๆ, สนับสนุนให้แสดงความเห็นกันอย่างตรงไปตรงมาและสร้างอารมณ์ขัน และปล่อยให้ลูกน้องเป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่ไม่ตีกรอบ เพื่อไม่ให้ให้บรรยากาศในที่ทำงานตึงเครียดเกินไป

จะเห็นว่า แก่นของแนวคิดทั้ง 5 ข้อที่ว่ามาของ แจ็ก เวลช์
คือการเข้าใจเป้าหมาย ความต้องการ และความท้าทาย ของลูกทีมหรือคนในองค์กรที่เขาบริหาร
ซึ่งแนวคิดแบบนี้ คือลักษณะของกระบวนคิดแบบ “Outward Mindset”

ทั้งหมดที่ว่ามา ก็คือเคล็ดลับการบริหารคนในแบบฉบับของ แจ็ก เวลช์
ที่พลิกฟื้น และนำความสำเร็จมาสู่องค์กรได้ดั่งร่ายมนตร์
จนทำให้เขาได้รับฉายาว่า “พ่อมดด้านการบริหาร” นั่นเอง..

ที่มา
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=3733568990016336&id=1503860816320509