Tuesday, July 5, 2011

Pasteurization Sterilization and UHT

การทำความรู้จักกับนมพร้อมดื่มให้มากขึ้น
ย่อมทำให้เลือกบริโภคนมพร้อมดื่มได้อย่างคุ้มค่าและสมประโยชน์ที่สุด

ผลิตภัณฑ์จากนมวัวปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Whole milk และ นมดัดแปลง (modified cow’s milk)

1.นมครบส่วน(Whole milk) หมายถึง นมวัว ที่มิได้ดัดแปลงปริมาณโปรตีน, คาร์โบไฮเดรตและไขมัน
เมื่อนำมาผ่านกรรมวิธีทำให้แห้งจะได้ Whole milk ชนิดผง เรียกว่า นมผงชนิดธรรมดา
น้ำนมที่ผ่านกรรมวิธีและจำหน่ายในรูปของเหลวแบ่งออกเป็น 4 ประเภทได้แก่
นมพาสเจอร์ไรซ์(pasturized), นมยูเอชที(UHT), นมสเตอลิไรซ์(sterirized) และนมข้นไม่หวาน(evaporated milk)

Whole milk ที่ไม่ผ่านการดัดแปลงทั้งในรูปผงแห้งและของเหลวสามารถนำมาใช้เลี้ยงทารกและเด็กอายุ 9-12 เดือนขึ้นไป

2.นมดัดแปลง (modified cow’s milk) หมายถึงนมวัวที่ที่มีการปรับแต่งหรือดัดแปลงส่วนประกอบของนมวัว

ในเด็กทารกช่วง 6 เดือนแรกนมผงส่วนใหญ่ทำมาจากนมวัว
ทารกไม่สามารถย่อยและดูดซึมนมวัวได้ดี
การให้นมที่ไม่มีการดัดแปลงจึงอาจทำให้เกิดอันตรายต่อเด็กได้
จึงมีการดัดแปลงส่วนประกอบต่างๆในนมวัวให้ใกล้เคียงนมแม่มากที่สุด


ระบบพาสเจอร์ไรส์ (Pasteurization)
================================
มีรสและคุณสมบัติเหมือนน้ำนมสดตามธรรมชาติมากที่สุด
แต่ต้องแช่เย็นตลอดเวลาที่อุณหภูมิตู้เย็น (2-8 องศาเซลเซียส)


ระบบยู.เอช.ที. (Ultra Hight Temperature)
=======================================
ทำให้คุณค่าทางอาหารของน้ำนมสูญเสียไปไม่มากนัก

หากจะซื้อนมยูเอชที ก็ควรอ่านฉลากก่อนให้ดีว่าเป็นนมสด มิใช่นมคืนรูป


ระบบสเตอริไรส์ (Sterilization)
=============================
มีผลเสียทำให้คุณค่าอาหารลดลง


นมคืนรูป (Recombined Milk)
=========================
คือ นมพร้อมดื่มที่ไม่ได้ทำจากน้ำนมโดยตรง
แต่ได้จากการนำนมผงธรรมดามาละลายน้ำ
กระบวนการผลิตนมสดเป็นนมผง ต้องใช้ความร้อนสูงมาก
ทำให้สารอาหารและวิตามินบางชนิดถูกทำลายไป



สรุป
====
นมสดควรเป็นนมชนิดแรกที่ท่านนึกถึง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งนมพาสเจอร์ไรซ์ ควรเป็นอันดับแรกที่จะเลือก




นมเปรี้ยว กับ นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม
========================
มีการเรียกชื่อที่สับสน
ผู้บริโภคจึงควรดูที่ส่วนผสม
ก็เลือกซื้อได้อย่างถูกต้องมากกว่า

"นมเปรี้ยว" หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยนำ "นมสด"
มาทำให้มีรสเปรี้ยว
ด้วยการใส่เชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายลงไป
ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เชื้อจุลินทรีย์เชื้อแลคโตบาซิลัสและสเตรปโตคอคคัส

"นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม" ผลิตมาจาก "นมขาดมันเนย"
ซึ่งอาจจะทำมาจาก "นมสด หรือ นมผง"
แล้วเติมน้ำตาลลงไป

# "โยเกิร์ต" คือ "นมเปรี้ยว"ชนิดข้น
# คุณค่าทางอาหารของนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม จะน้อยกว่าโยเกิร์ต



อื่นๆ
======
นมสด (Fresh Milk) คือ นมสดธรรมดาที่บรรจุในกระป๋อง
ซึ่งฉลากระบุว่าเป็นนมโค 100 %

นมข้น (Condensed Milk) มี 2 ชนิด คือ
นมข้นจืด และ นมข้นหวาน

นมข้นจืด (evaporated milk) คือ นมผงขาดมันเนย
ละลายน้ำในอัตราส่วนที่น้อยกว่าปริมาณน้ำที่มีในนมสดธรรมดาครึ่งหนึ่ง
ถ้าเติมไขมันเนยลงไปเรียกว่า นมข้นคืนรูปไม่หวาน
ถ้าเติมน้ำมันปาล์มลงไปเรียกว่า นมข้นแปลงไขมันชนิดไม่หวาน
มีคุณค่าในแง่โปรตีนและพลังงานใกล้เคียงน้ำนมสดธรรมดา
แต่ชนิดที่ใช้น้ำมันปาล์มมีปริมาณกรดไขมันจำเป็นและวิตามินบางชนิดต่ำกว่า
จึงไม่สมควรใช้เลี้ยงทารก หรือเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี

นมข้นหวาน คือ ผลิตภัณฑ์นมที่ระเหยเอาน้ำบางส่วน
หรือละลายนมผงขาดมันเนย ผสมกับไขมันเนยหรือไขมันปาล์ม
แล้วจึงเติมน้ำตาลลงไปประมาณ 45 %
จะเห็นว่านมข้นหวานมีน้ำตาลในปริมาณสูง
ทำให้คุณค่าทางโภชนาการโดยเฉพาะโปรตีนจากนมจะต่ำกว่าน้ำนมสดมาก
นมข้นหวานจึงไม่เหมาะสำหรับเลี้ยงทารก
หรือใช้เพื่อประโยชน์ในการเสริมคุณค่าอาหารเช่นเดียวกับน้ำนมสดธรรมดา

เพิ่มเติม http://www.childrenhospital.go.th/main/ph/PEOPLE/MILK/MAIN.HTM


ที่มา
- http://natres.psu.ac.th/Natawee/dairy_tips.htm
- http://www.nongpho.com/leanning.htm
- http://www.doctor.or.th/node/6574
- http://gms.oae.go.th/Z_Show.asp?ArticleID=490

Monday, July 4, 2011

have a temperature

ไข้ต่ำ
=====
เนื่องจากโรคบางโรคถ้าผู้ปกครองให้ยาลดไข้พร่ำเพรื่อเกินไป
อาจทำให้การวินิจฉัยและการติดตามโรคทำได้ยากขึ้น โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกเป็นต้น

บางครั้งถ้าไข้ต่ำๆ ลูกไม่งอแง (อาการติดเชื้อไม่รุนแรง)
ก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาก็ได้ การปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม ก็เพียงพอแล้ว
โดย...

- การเช็ดตัว (ซึ่งควรใช้น้ำประปา หรือน้ำพออุ่นเช็ดตัวลูกโดยมีทิศทางการเช็ดจากส่วนต่างๆ ของร่างกายมุ่งสู่หัวใจ)

- ให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างพอเพียง เพื่อให้มีเหงื่อและปัสสาวะที่เพียงพอจะได้ระบายไข้ได้
โดยให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ (ไม่ใช่มากเกินไป)

- ให้ลูกกินอาหารอ่อนๆ ครั้งละน้อยๆ
อย่าลืมว่าการได้รับสารอาหารจะช่วยทำให้ผลการรักษาดีขึ้น

- ทำให้เสมหะหรือน้ำมูกไม่คั่งค้าง ไม่อุดกั้นทางเดินหายใจ
โดยการดื่มน้ำมากๆ

- การทำกายภาพบำบัดทรวงอก (หรือเคาะปอด) เพื่อช่วยระบายเสมหะ

- ถ้าลูกไม่มีไข้ ก็ควรสวมเสื้อผ้าหนาๆ เพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่น
ถ้าเสมหะยังเหนียวและขับออกลำบาก อาจจะให้ยาละลายเสมหะ
และอาจให้สูดดมละอองไอน้ำ จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้

- การไม่อยู่ในห้องที่ร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไป

- พยายามป้องกันลูกจากควันบุหรี่หรือมลพิษในอากาศ
เพราะจะเกิดการระคายเคืองของทางเดินหายใจ และต่อมขับมูกจะทำงานมากกว่าปกติ


การดูแล และสังเกตุเมื่อลูกมีไข้ต่ำ
==========================
อาการที่บ่งชี้ว่าเกิดการติดเชื้อไวรัส ได้แก่
การมีไข้ต่ำๆ มีน้ำมูกใส
เด็กเล็กจะมีจมูกตันจนหายใจลำบาก มีเสียงครืดคราดเวลาหายใจ
อาจมีอาเจียนหรืออุจจาระร่วงร่วมด้วย ตาแดง ไอเสียงแหบ มีผื่นคันตามตัว
อาจเจ็บคอ แต่ไม่ถึงกับกลืนแล้วเจ็บ
กลุ่มนี้คุณพ่อคุณแม่รักษาตามอาการไปก่อนได้ครับ


สำหรับเชื้อไวรัสให้รักษาแบบประคับประคองตามอาการ โดยระวังภาวะแทรกซ้อน
เช่น
- ถ้าไอ ก็อาจให้ยาละลายเสมหะ
- ถ้ามีไข้ ก็ให้ยาลดไข้
- ถ้ามีน้ำมูก อาจต้องให้ยาลดน้ำมูก

ถ้าติดเชื้อไวรัสไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ !!!
(ขณะที่แบคทีเรียต้องให้ยาปฏิชีวนะไปฆ่าเชื้อโรค)


มีไข้สูง
=====
ถ้าผู้ใหญ่เป็นไข้ นอนให้เหงื่อออกซักคืนนึงก็หาย
แต่สำหรับเด็ก ถ้าใช้สูตรเดียวกัน เด็กอาจจะได้ไปเกิดใหม่ !!!

การใช้ยาลดไข้จะมีความสำคัญมากใน 24 ชม.แรก หลังมีไข้สูง
เนื่องจากลูกอาจชักเพราะไข้สูงได้ !!!
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวัง ควบคุมอาการไข้และใช้ยาลดไข้อย่างเคร่งครัดใน 24 ชั่วโมง

และถ้า 2-3 วันแล้วไข้ยังไม่ลด ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคให้ถูกต้อง
ยิ่งถ้าลูกไม่มีอาการไอ และไม่มีน้ำมูก 2-3 วัน ยิ่งควรรีบไปพบแพทย์เลย ***



ยาลดไข้
=======
ยากลุ่มนี้มีตัวยาหลัก ๆ อยู่ 3 ตัวด้วยกันได้แก่
พาราเซตามอล (Paracatamol) แอสไพริน (Aspirin) และไอบูโปรเฟน(Ibuprofen)

ยาแต่ละตัวมีคุณสมบัติดังนี้: พาราเซตามอล แอสไพริน ไอบูโปรเฟน
ประสิทธิภาพการลดไข้: โดยรวมแล้วไม่แตกต่าง แต่เด็กแต่ละคนให้ผลไม่เท่ากันได้
เริ่มออกฤทธิ์ลดไข้: 30 นาที-1ชม. 30นาที-1ชม. 3นาที-1ชม.
ระดับยาสูงสุดในร่างกาย: ประมาณ 2 ชม. ประมาณ 2 ชม. ประมาณ 2 ชม.
ออกฤทธิ์อยู่นาน: 4-6ชม. 4-6ชม. 6ชม.
..

ผลข้างเคียง (ขึ้นอยู่กับปริมาณที่กิน)
ป่วน ระคายกระเพาะ กระเพาะได้ เลือดออกในกระเพาะ
ใช้ติดต่อกันอาจมีผลต่อตับไต หรือ ผื่นตามตัวได้
= ต้องดื่มน้ำตามมากๆ

ข้อห้ามใช้ โรคกระเพาะ โรคเลือด โรคกระเพาะ เป็นต้น (ศึกษาเพิ่มเติม)



การดูแล และสังเกตุเมื่อลูกมีไข้สูง
==========================
ถ้ามีอาการบ่งชี้ว่าเป็นแบคทีเรีย ก็ให้ไปพบแพทย์ได้
ได้แก่ อาการเจ็บคอกลืนลำบาก ทอนซิลแดง
โดยเฉพาะมีจุดเลือดออกที่ทอนซิล ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต น้ำมูกเหลืองเขียวจัดเป็นยอง

แต่ถ้ามีหลักฐานว่าเป็นไวรัส ได้แก่ น้ำมูกใส จามบ่อย ตาแดง ไอเสียงแหบ มีผื่นตามตัว
แบบนี้รักษาตามอาการไปก่อนได้ครับ

หมอไม่อยากให้ผู้ปกครองซื้อยาปฏิชีวนะทานเอง เนื่องจากยาปฏิชีวนะมีหลายชนิดมาก
การใช้ที่บ่อยเกินไปจะทำให้ดื้อยาได้ ต่อไปจะหายามารักษายากขึ้น

แต่ก็ต้องระวังว่า ถ้าเป็นแบคทีเรียแล้วใช้ยาปฏิชีวนะช้าเกินไป โรคอาจลุกลามและรักษายากขึ้น !!!

คุณพ่อคุณแม่ห้ามใช้ยาปฏิชีวนะทุกครั้งที่ลูกเป็นไข้ไม่สบายนะครับ !!!!
ควรใช้ให้ถูกเวลาจะมีประโยชน์มาก สำหรับปริมาณและระยะเวลาการใช้
แพทย์จะเป็นคนกำหนดตามแต่วินิจฉัยว่าเป็นโรคอะไร และเชื้อน่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรียตัวใด กลุ่มใด


การวัดผล

หมอ: อาการมีไข้สูง เป็นตัวบ่งชี้ว่า ยังมีการติดเชื้ออยู่ (เหมือนเสมหะสีเขียว)

(หมอ: บางครั้งสาเหตุของการมีไข้ เกิดขึ้นจากหูอักเสบ)

ถ้ากินยาฆ่าเชื้อต่อเนื่องระยะเวลาหนึ่ง แล้วไข้ยังขึ้นๆลงๆ แปลว่า ยาไม่ได้ผลแล้ว


-----------------------------------------

แก้ไม่ตรงจุด กินยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ ส่งผลเสียทั้งตัวเองและโดยรวม

ยาแก้อักเสบ, ยาปฏิชีวนะ, หรือยาต้านจุลชีพ (Antibiotics) เช่น Amoxicillin
เป็นยาที่ใช้รักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย


(หมอแมว: มีส่วนน้อย ที่ใช้ในการรักษาเชื้อไวรัสหรือเชื้อรา)

หมอแมว : การดื้อยาของเชื้อโรค
สามารถเกิดได้ทุกครั้งที่เชื้อโรค(ที่หลงเหลือ หลบซ่อน อยู่ในตัวเรา)ได้เห็นยา ...

หมอแมว : หนทางเดียวที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการดื้อยาได้ ก็คือ
การใช้ยาปฏิชีวนะให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

หมอ:เชื้อโรคเปลี่ยนสายพันธุ์ไปเรื่อยๆ ที่เคยกิน Amoxicillin หาย เดี๋ยวนี้ก็เริ่มดื้อยา

หมอแมว :เชื้อโรคเมืองไทยเริ่มดื้อยามากขึ้นทีละน้อย

-----------------------------------------

ไม่จำเป็นต้องยาแพง

หมอแมว: ยาราคาแพงบางตัว ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีความสามารถฆ่าเชื้อไม่กี่ชนิด
และบ่อยครั้ง ที่ยาราคาแพงบางตัว ไม่สามารถนำมาใช้รักษาโรคง่ายๆได้
ยกตัวอย่างเช่น โรคติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ ใช้ยา Norfloxacin เม็ดละบาท สามวันหาย
แต่ไปใช้ยา Clindamycin ราคาแพงกว่ากันหลายสิบเท่า กลับไม่หาย

-----------------------------------------

ถามว่า: Amoxicillin สำหรับผู้ใหญ่ กินต่อเนื่องหลายๆแผงได้มั๊ย
หมอ: เป็นยาที่มีผลข้างเคียงน้อย

-----------------------------------------



ส่งท้ายจากใจหมอ
==============
คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ยาลูกและดูอาการลูกไปก่อนได้ถ้า...
1. ลูกมีอาการไอ หรือมีน้ำมูกด้วย
2. ลูกดูไม่ค่อยอ่อนเพลียมาก ไข้ไม่สูงมาก ไม่หอบ ไม่เหนื่อย
3. อาการบ่งชี้ว่าน่าจะเป็นไวรัส
4. ลูกไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง เช่น เคยชักเพราะไข้สูง
มีโรคประจำตัวรุนแรง เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด


ลูกอายุน้อยกว่า 6 เดือน ดูอาการและรักษาตามอาการไปก่อน 2-3 วัน ไม่เป็นปัญหาครับ
แต่ถ้าเลยจากนี้หรือดูแล้วลูกแย่ลง ก็ควรรีบไปพบคุณหมอให้วินิจฉัยและวางแผนการรักษาดีกว่า
และอย่าลืมว่าเวลาไปพบคุณหมอก็ต้องขอความรู้คุณหมอด้วยนะครับ ไม่ใช่ไปรับยาอย่างเดียว ***


"ยาบรรเทาอาการต่างๆ เช่น ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ และยาลดไข้
สามารถหยุดยาได้ทันทีเมื่ออาการดีขึ้น ไม่จำเป็นต้องรับประทานอย่างต่อเนื่อง"




ที่มา
- http://www.momypedia.com/boxTh/knowledge/printpage.aspx?no=477&p=1
พ่อคับ แม่ขา...ยานะไม่ใช่ขนม!
โดย: น.พ.สมบัติ เทพรักษ์ (นิตยสารรักลูก)
- http://www.kapookya.com/article_detail.php?id=23
- หมอแมว http://webboard.mthai.com/7/2006-10-25/277002.html

Have a cough

ยาแก้ไอ ละลายเสมหะ ขับเสมหะ
============================
หมออยากจะเรียนให้คุณพ่อคุณแม่ทราบว่า
การไอส่วนใหญ่ที่พบในเด็กเป็นลักษณะไอแบบมีเสมหะ
ดังนั้นยาแก้ไอหรือยาระงับไอจึงไม่ควรใช้ !!!

เนื่องจากทำให้เกิดการคั่งค้างของเสมหะ
บางรายอาจพบอาการคลื่นไส้ ท้องผูก ปากแห้ง มึนงง ง่วงซึม อาจเกิดการเสพย์ติดยาได้
จึงควรใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น
ยากลุ่มนี้ได้แก่ Codeine, Dextrome thorphan

ส่วนยาละลายเสมหะ ขับเสมหะนั้น จุดประสงค์หลักเพื่อทำให้เสมหะไม่เหนียว
จึงทำให้การไอมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ร่างกายสามารถขับเสมหะออกผ่านทางการไอได้
ซึ่งลูกๆ อาจจะไอมากขึ้นในช่วงแรกหลังทานยา แต่เป็นการไอที่ลูก ๆ สบายลำคอ
และเมื่อเสมหะหมด อาการไอจะค่อย ๆ ทุเลาลงเอง...
และเช่นเคยครับ ถ้าลูกดื่มน้ำได้มากพอ ไอไม่รุนแรง การใช้ยากลุ่มนี้ก็ไม่จำเป็น
ยกเว้นไว้ว่าเสมหะยังเหนียวและไอขับออกลำบาก แบบนั้นก็ยังคงต้องใช้ยาต่อไป

ยาขับเสมหะมีหลายชนิด
- บางชนิดออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางหรือประสาทส่วนปลาย
- บางชนิดออกฤทธิ์กระตุ้นเซลล์เฉพาะที่ (เยื่อบุทางเดินหายใจหรือกระเพาะ)
ทำให้มีการขับสารน้ำในทางเดินหายใจมากขึ้น ช่วยให้เสมหะใสขึ้นและถูกขับออกหรือกลืนลงกระเพาะได้ง่าย
จึงเท่ากับลดการไอไปในตัว

ยาเหล่านี้ ได้แก่ Glyceryl guaiacolatecamphor,Sodium,Ammonium carbonate,
เกลือ Iodide-Bromide Chloride เช่น Potassium iodide

ผลทางยาเหล่านี้ไม่สามารถกล่าวได้แน่นอน เพราะการศึกษาเปรียบเทียบทำได้ยาก
แต่โดยรวม ๆ แล้วไม่ค่อยแตกต่างกันนัก

ยาละลายเสมหะนั้น มีรายงานการใช้ยาที่ได้ผลในการลดความเหนียวหนืดของเสมหะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ในแบบสูดดมฝอยละอองยา
เมื่อเสมหะไม่เหนียวการขับเสมหะจึงง่าย และทำให้การไอมีประสิทธิภาพด้วย
ยากลุ่มนี้ได้แก่ AmmonCarb, Bromhexine Hee, acetylcysteine


ควรใส่ใจ
========
อย่าลืมนะครับว่า การที่ลูกๆ ขาดน้ำจะทำให้เสมหะเหนียวมากขึ้น และยังทำให้ไอมากขึ้นด้วย
ฉะนั้นน้ำจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยละลายและขับเสมหะได้เป็นอย่างดี

"ยาบรรเทาอาการต่างๆ เช่น ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ และยาลดไข้
สามารถหยุดยาได้ทันทีเมื่ออาการดีขึ้น ไม่จำเป็นต้องรับประทานอย่างต่อเนื่อง"


ยาขยายหลอดลม
=============
ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์กระตุ้นที่หลอดลมทำให้หลอดลมขยายตัว
แต่ก็มีฤทธิ์กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วแรงมากด้วย !!!
บางครั้งลูกใจสั่น หงุดหงิดมือสั่น นอนไม่หลับ กระวนกระวาย
ถ้าเป็นแบบนี้หยุดยาเสียครับ อาการก็จะค่อยๆ หายๆ ไป

ยากลุ่มนี้มีทั้งรูปแบบเม็ด น้ำเชื่อม และสูดดมก็มี
ได้แก่ Salbutamol, Terbutaline, Fenateral
มีที่ใช้เมื่อมีหลอดลมเกร็งเช่น กรณีหืดหอบ หรือเพื่อช่วยเสริมให้มีการขับเสมหะได้ดีขึ้น

กรณีไอมาก ๆ หลังจากการดื่มน้ำเพียงพอแล้ว
ทำกายภาพบำบัดทรวงอก เสมหะก็ยังเหนียวอยู่ ยังไอมากอยู่บ่อยครั้ง
จึงใช้ยาขยายหลอดลมร่วมด้วย ทั้งแบบรับประทานและแบบพ่นสูดดมก็ได้

ลูกที่เป็นหอบหืด คุณพ่อคุณแม่ต้องศึกษาการใช้ยานี้ให้ดีนะครับ
เพราะต้องใช้โดยเคร่งครัด แต่ก็อีกนั่นแหละครับ
ถ้าเสมหะยังเหนียวอยู่ ถึงเราใช้ยาขยายหลอดลมก็อาจ ช่วยไม่มากนัก
ดังนั้นการดื่มน้ำมากๆ ตั้งแต่เริ่มป่วยก็สำคัญยิ่ง !!!
เพราะเมื่อมีอาการมากขึ้นแล้ว ลูกจะไม่สามารถดื่มน้ำมากๆ ได้



ที่มา พ่อคับ แม่ขา...ยานะไม่ใช่ขนม!
โดย: น.พ.สมบัติ เทพรักษ์
นิตยสารรักลูก
http://www.momypedia.com/boxTh/knowledge/printpage.aspx?no=477&p=1

ควรอ่าน เพิ่มเติม
ความเว่อร์ของคุณแม่บางท่านจะทำให้ทุกอย่างหนักหนามากขึ้น
จากที่น้อยจะเป็นมาก, จากที่มากจะมากที่สุด
สุดท้ายชีวิตดำเนินไปด้วยเข็มฉีดยาขยายหลอดลม
บางบ้านต้องหอบลูกไปห้องฉุกเฉินพ่นยาขยายหลอดลมทุกค่ำคืนในฤดูหนาว
http://community.momypedia.com/community/blog/my_blog_detail.aspx?bgrid=54664&blgid=14500
โดย น.พ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

Have a cold

การให้ยาลดน้ำมูก หมออยากเรียนว่า ควรพิจารณาก่อนว่าจำเป็นแค่ไหน
เราจะใช้เมื่อลูกมีอาการจนสร้างความรำคาญ นอนหายใจไม่สะดวก หลับๆ ตื่นๆ
เด็กเล็กดูดนมไม่ได้ งอแงมากเท่านั้น
!!!


ยาลดน้ำมูก
=========
ยาลดน้ำมูกเป็นยาที่ใช้ไม่มากนักในเด็ก และต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง !!!
เนื่องจากผลข้างเคียงของยานี้

ยากลุ่มนี้มี 3 จำพวกส่วนใหญ่ คุณแม่มักรู้จัก

จำพวกที่ 1 ได้แก่ chlorpheniramine, Brompheniran, Diphenleyaramine, Tripeoldine
ออกฤทธิ์สั้นประมาณ 6-8 ชม. ผลข้างเคียงส่วนใหญ่เป็นปากคอแห้ง จมูกแห้ง (โดยเฉพาะลูกดื่มน้ำน้อย) และมีอาการง่วงซึม

จำพวกที่ 2 ได้แก่ Loratidine, Fexofenadine, Terfenadine, Astemizole ออกฤทธิ์ 12-24 ชม.
(Laratidine ยังนิยมใช้เป็นยารักษาโรคแพ้อากาศด้วย)

จำพวกที่ 3 ได้แก่ Cetirizine ออกฤทธิ์ 24 ชม.


บางชนิดใช้ยาหยอดจมูกเพื่อลดอาการคัดจมูก ได้แก่ Ephedrine, pseudorphedreue
แต่ห้ามใช้ติดต่อกันเกิน 3 วัน

ยาลดอาการคัดจมูกบางครั้งทำเป็นรูปรับประทานได้แก่ pseudoephear


ยาลดน้ำมูกนี้ห้ามใช้กับลูกที่เป็นหอบหืด !!!
เนื่องจากเสมหะลูกจะเหนียว จึงทำให้ลูกหอบได้

นอกจากนี้ยาลดน้ำมูกไม่ควรอย่างยิ่งที่จะใช้ร่วมกับยาที่ทำให้ง่วง ได้แก่ ยาแก้อาเจียน ยากันชัก
และที่สำคัญในทารกและเด็กเล็กต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
เพราะการได้รับยาลดน้ำมูกที่กินเกินขนาดจะกดการหายใจและอาจชักได้ !!!

ใช้แล้วเสมหะจะเหนียวจึงต้องดื่มน้ำมากๆ ด้วย ***

ส่วนยาที่ออกฤทธิ์ลดการคัดจมูกเป็นหลัก เด็กบางคนอาจมีอาการใจสั่นและหัวใจเต้นเร็วได้
ดังนั้นจึงไม่ควรใช้พร้อมกับยาขยายหลอดลม ***

เมื่ออาการคัดจมูกดีขึ้น น้ำมูกลดลง หลับได้ไม่งอแง ก็ควรหยุดยาไปได้เลยครับ ***


ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
================
การขับน้ำมูกทิ้งมีวิธีทำอื่นๆ อีกได้แก่
การใช้น้ำเกลือ หรือน้ำอุ่น หยอดจมูกให้น้ำมูกนุ่มขึ้น
จะได้เช็ดออกหรือดูดออกได้ง่าย
ถ้าลูกโตแล้วบางครั้งการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือก็เป็นการช่วยที่ดีมาก ***

เอาสลิ้งดูดน้ำเกลือแล้วจ่อพ่นเข้ารูจมูก แล้วให้ลูกก้มหน้าลงแล้วสั่งขี้มูก
ทำข้างละ2ครั้ง เช้า+ก่อนนอน


สังเกตุดูสาเหตุด้วย
===============
เมื่อเด็กเจอสารที่กระตุ้นอาการแพ้ ก็จะทำให้จมูกหลั่งเมือกออกมา
เนื่องจากระคายเคือง เมือกนี้ ไหลลงคอกลายเป็นเสมหะ
และจะกักเชื้อโรคไว้ และทำให้ป่วยเป็นหวัดบ่อยได้


การวัดผล
หมอ: บางครั้งอาการน้ำมูกไหล หายไป กลายเป็นเจ็บคอ
หมายถึง เชื้อโรค ได้เข้าไปในร่างกาย ลึกขึ้น
บางครั้งนอกจากอาการเจ็บคอ กลายเป็นเริ่มมีไข้
หมายถึง เชื้อโรค ได้เข้าไปในร่างกาย ลึกขึ้น
ปอดอาจจะเริ่มติดเชื้อ



ที่มา
- http://www.momypedia.com/boxTh/knowledge/printpage.aspx?no=477&p=1
พ่อคับ แม่ขา...ยานะไม่ใช่ขนม!
โดย: น.พ.สมบัติ เทพรักษ์ (นิตยสารรักลูก)
- http://community.momypedia.com/webboard_topic.aspx?tid=19377





น้ำมูกเขียว
============
การมีน้ํามูกหรือเสมหะข้นและเป็นสีเหลืองหรือเขียวเพียงประการเดียว ไม่ได้แปลว่า
เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือมีอาการแย่ลง
- โรคหวัดในระยะใกล้หาย เราจะมีอาการดีขึ้น
ปริมาณน้ํามูกจะลดลง แต่ลักษณะของน้ํามูกจะข้นขึ้น
และอาจเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเขียวโดยเฉพาะในตอนเช้า
ซึ่งไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
แต่เป็นลักษณะอาการของโรคหวัดตามปกติ จึงไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ
- คนที่เป็นหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน มักจะไอนานเป็นสัปดาห์ และมีเสมหะ
สีเขียวเหลืองได้ โดยไม่ได้มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- การมีน้ํามูกหรือเสมหะสีเขียวเหลือง ไม่ได้แปลว่าต้องกินยาปฏิชีวนะทุกครั้งไป
ที่มา http://newsser.fda.moph.go.th/rumthai/userfiledownload/asu136dl.pdf

iodine deficiency

สำคัญแค่ไหน
=============
ช่วงทารกในครรภ์ถึงแรกคิด จะทำให้เกิดการแท้งหรือตายก่อนกำเนิดได้ง่าย
หรือหากไม่ตาย คลอดออกมาทารกก็จะพิการแต่กำเนิด คือ หูหนวก ขาแข็ง กระตุก ตาเหล่ รูปร่างแคระแกร็น
และสติปัญญาเสื่อมจนถึงปัญญาอ่อน หรือที่เรียกว่าเป็นเอ๋อ

ส่วนวัยเด็กถึงวัยรุ่นร่างกายจะเจริญเติบโตช้า สติปัญญาด้อยลงกว่าคนปกติและมีอาการคอพอก

ขณะที่วัยผู้ใหญ่จะมีอาการคอพอก เหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น สมรรถนะในการทำงานลดลง ร่างกายและจิตใจเสื่อมถอย
หากเป็นเพศชายจะมีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
สำหรับผู้หญิงประจำเดือนอาจมาไม่ปกติ


ไม่เกิดกับเราหรอก
==================
การเจาะเลือดวิเคราะห์สุขภาพทารกแรกเกิดทั่วไทยในรอบ 7 ปี...
...

อันดับ 2 กทม. 26.59%
ขาดไอโอดีนสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน องค์การอนามัยโลกไปเกือบ 9 เท่า




How come?
=========
ใส่เกลือให้เด็กหรือแม่ที่กำลังตั้งท้อง กินแล้ว
แต่เด็กอาจยังขาดไอโอดีนได้ !!!
เพราะ
1)ไอโอดีนที่เสริมลงในเกลือจะคงอยู่สภาพได้แค่ 1 เดือน
กว่าจะถึงมือผู้บริโภค มักจะหมดสรรพคุณไปแล้ว
2)ไอโอดีนจะเสื่อมสลายเมื่อถูกความร้อนในการปรุงอาหาร




แก้ไขยังไง
===========
- การรับสารไอโอดีนในรู ปแบบของยาเม็ดหรื อแคปซูล
จะเหมาะสมกับผูที่ตองการไอโอดีนเกินกว่าปริ มาณปกติ เช่น หญิงตั้งครรภ์ เป็ นต้น
- กินเกลือสด (ไม่ผ่านความร้อน) เช่น จิ้มกินกับผลไม้
- เอาสารละลายไอโอดีนเข้มข้นไปผสมในน้ำ


note
=====
- ถึงแม้ว่าเราจะต้องการไอโอดีนในปริ มาณน้อย แต่จาเป็ นต้องได้รับไอโอดีนเป็ นประจํา
เพราะไอโอดี นไม่สามารถเก็บสะสมในร่ างกายได้นาน จึ งควรได้รับสารไอโอดี นจากการ
รับประทานอาหารในแต่ละวันจากเกลือบริ โภคเสริ มไอโอดีน

- ไอโอดีนเกี่ยวกับสมองได้ยังไง
http://mor-maew.exteen.com/20100828/entry


ที่มา
- ลดโง่กันเถอะ - แม่ทองต่อ พ่อประหยัด (4 กันยายน 53)
- http://www.thairath.co.th/today/view/105646
- http://iodinethailand.fda.moph.go.th/images/file/Question/Q1-42.pdf
- http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=anotherside&month=02-2010&date=22&group=17&gblog=202