Wednesday, February 23, 2011

Personal Mission Statements (Draft)

"อะไรคือสิ่งสำคัญในชีวิต และ
ลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆในชีวิต อะไรสำคัญกว่าอะไร"

ในสิ่งต่างๆ เช่น ฐานะการเงิน
, ความสำเร็จในอาชีพการงาน
, ได้ทำในสิ่งที่ต้องการ (เช่น อุทิศตนเพื่อสังคม เป็นต้น)
, สุขภาพ
, ชีวิตสมรส, ครอบครัว, ลูก เป็นต้น

หลายคนใช้เวลาเกือบทั้งชีวิต ทำมาหากิน สร้างฐานะความเป็นอยู่
แล้วก็มีเหตุให้ต้องนอนป่วยในบั้นปลายชีวิต
จึงค้นพบความจริงของชีวิตว่า
คนเราอาจจะไม่ได้ต้องการฐานะความเป็นอยู่ที่ร่ำรวยอะไรมากนัก
แต่อาจจะต้องการ การมีสุขภาพที่ดี มากกว่า
ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ ก็จะให้เวลาในการออกกำลังกายมากกว่านี้

หรือ มีฐานะที่ดี แต่ลูกหลานเอาแต่นำพาเรื่องเดือนร้อนใจมาให้
ก็อาจจะอยากให้มีฐานะปานกลาง แต่มีความสุขในครอบครัว มากกว่า
อยากย้อนเวลากลับไป เรียงลำดับความสำคัญใหม่
ไม่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ
แบ่งเวลาเอาใจใส่เลี้ยงดูอบรมสั่งสอนลูกให้มากกว่าที่เคยทำ เป็นต้น


เมื่อตอบคำถามแรกได้
คำถามที่ว่า

"เป้าหมายในชีวิตเรา หรือ ความสำเร็จที่เรามุ่งหวัง คืออะไร"

เช่น รวย,
,เป็นเจ้าของธนาคาร
,มีครอบครัวที่อบอุ่น
,เป็นคนดีของสังคม หรือประเทศชาติ
,สะสมบุญบารมีให้คุ้มค่ากับการได้เกิดมาเป็นมนุษย์
เป็นต้น

เช่น สมมุติว่า
เป้าหมายของเราคือ การเป็นคนดี
เกิดมีครั้งนึง เราขัดสนเงินทอง
และไปเจอทองแท่งวางอยู่โดยไม่มีใครเฝ้า

เป้าหมายที่ชัดเจน ที่เรากำหนดไว้ให้กับตัวเองแล้ว
เมื่อมีทางแยกในชีวิตให้เลือกเดิน
แม้สถานการณ์จะบีบคั้น
เราก็จะมีคำตอบให้กับตัวเอง

ทั้งมันจะทำให้เรารู้จักตัวเอง

(ว่าเราดีจุดไหน ไม่ดีจุดไหน
หรือเป็นคนงก คนเอื้อเฟื้ออย่างไร
หลงคิดว่าตัวเองเป็นคนดี ทั้งที่ความจริงไม่ใช่ เป็นต้น)

ดังคำพูดที่ว่า

"อ่านตัวเองให้ออก
บอกเตือนตัวเองให้ได้
ใช้ตัวเองให้เป็น"

เมื่อนำตัวเองได้ดีแล้ว
จึงจะพิจารณาเป็นผู้นำคนอื่น หรือครอบครัว


"อุดมการณ์ที่จะยึดถือไว้ตลอดชีวิตคืออะไร"


สิ่งใดที่ทำให้เราเรียกตัวเองว่า "มนุษย์" อย่างเต็มภูมิ

ผู้ที่ไม่มีคำตอบต่อคำถามเหล่านี้
จะตกเป็นเป้านิ่งไร้เกราะกำบัง
ในช่วงเปราะบางในชีวิต

หนังสือความรักและความอบอุ่น
โดย MK restaurants

ทำในสิ่งที่ให้เราภูมิใจในภายหลัง เมื่อย้อนกลับมาคิดถึง

มหาตมะคานธี กล่าวไว้ว่า
"ความมุ่งหมายอันเด็ดเดี่ยวของมนุษย์ก็คือ
เอาชนะนิสัยเก่าๆของตน เอาชนะความชั่วที่มีในตน
และคงคืนความดีให้ไปสู่ทางที่ถูก..."

(ปรากฏในหนังสือพุทธปรัชญาเถรวาท)

No comments:

Post a Comment