รากเหง้าของปัญหาพฤติกรรมไม่เหมาะสม
==============================
มักเกิดจาก
๑ การคิดถึงแต่ตนเองเป็นสำคัญ
ไม่สนใจว่าการกระทำของตน จะก่อผลกระทบต่อผู้อื่นหรือส่วนรวมอย่างไร
รวมถึง ถือว่า "ความถูกใจ" สำคัญกว่า "ความถูกต้อง"
จึงนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เพียงก่อปัญหาให้แก่ผู้อื่นเท่านั้น
แต่ยังเป็นโทษต่อตัวเองด้วย
๒ ยึดติดกับความสุขทางวัตถุ
ไม่สนในที่จะแสวงหาความสุขสงบในจิตใจ
หมกมุ่นอยู่กับการแสวงหา ครอบครอง และเสพวัตถุ
แม้ได้เท่าไหร่ก็ไม่รู้จักพอ เพราะคิดว่า
ยิ่งมีมาก ยิ่งเสพมาก ยิ่งมีความสุข
นำไปสู่
เงินเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต
แย่งชิง เอาเปรียบ
ความร้าวฉานในครอบครัว
๓ การคิดอย่างไม่ถูกวิธี
คือ การไม่สามารถคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล
หรือวิเคราะห์วิจัยเพื่อเข้าใจความจริงทุกแง่มุม
แต่มองแบบเหมารวม ตีขลุม ลัดขั้นตอน
หรือตัดสินไปตามความชอบความชัง
จึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของอารมณ์และอคติ
ทำให้มองความเป็นจริงอย่างคลาดเลื่อนแล้ว
มักทำให้ปัญหาลุกลามขยายตัว
เพราะคิดแต่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ให้ผ่านพ้นไปเป็นคราวๆเท่านั้น
แนวทางป้องกันแก้ไข
===============
๑ ปลูกฝังจิตอาสา
ส่งเสริมให้เขาทำความดี หรือบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์
จะช่วยเสริมสร้างพลังให้แก่คุณธรรมภายใน จนเอาชนะความเห็นแก่ตัวได้
ได้รับความสุข ความภูมิใจที่ได้ทำความดี
ได้รับความสุข จากการได้เห็นผู้ที่ทุกข์ยากกลับมามีความสุข
เสริมสร้างความรู้สึกว่าชีวิตตนนั้นมีคุณค่า
เปิดมุมมองที่หลากหลายใหม่ๆให้ชีวิต
เช่น เห็นว่ายังมีผู้อื่นที่ทุกข์ยากลำบากกว่าตนมาก
ความทุกข์ของเรากลายเป็นเรื่องเล็กน้อยไป
ฝึกให้เป็นคนมีความสุข โดยไม่ต้องพึ่งวัตถุสิ่งเสพ
ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม รวมถึงรับฟังความคิดของผู้อื่น
ที่มา สุขแท้ด้วยปัญญา (พระไพศาล วิสาโล)
ว่าแต่วันก่อนเพิ่งเจอ คนที่มีจิตสาธารณะ
ใจกว้าง ช่วยเหลือเรื่องของคนอื่นไปทั่ว
แต่งานในบ้านไม่ค่อยจะให้ความร่วมมือเท่าไหร่ 555
No comments:
Post a Comment