Tuesday, January 18, 2011

Positive Thinking

การมองโลกในแง่ดีนั้นมีหลายแบบ แต่แบบที่ผมกำลังจะพูดถึงนั้นคือ การมองหาสิ่งดีๆที่มีอยู่จริง จากเรื่องร้ายๆที่เกิดขึ้นในชีวิต เพื่อให้เรามีกำลังใจในการแก้ปัญหา และ เพื่อให้ชีวิตสามารถเดินหน้าต่อไปได้ครับ

ที่ต้องเน้นว่าเป็นสิ่งดีๆที่มีอยู่จริงก็เพราะว่า การที่เราพยายามคิดอะไรดีๆขึ้นมาโดยที่ไม่มีมูลความจริ

เช่น หากคุณบอกลูกว่า "ที่เพื่อนชอบมาตบหัวหนูทุกวัน เขาอาจจะแค่อยากเล่นกับหนูก็ได้นะลูก" หรือ

หากคุณบอกกับเพื่อนของคุณว่า "ที่แฟนเธอแอบไปมีกิ๊กอยู่บ่อยๆ นั่นเขาอาจจะแค่เผลอไปโดยไม่ได้ตั้งใจก็ได้นะ"

สำหรับผมแบบนี้ไม่ได้เรียกว่า "มองโลกในแง่ดี" แต่เรียกว่า "หลอกตัวเอง" ซึ่งการคิดแบบนี้มักจะไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นสักเท่าไหร่ครับ

โดยตัวอย่างของการมองมุมบวกแบบไม่หลอกตัวเอง ได้แก่

1.เรายังเหลืออะไรอยู่บ้าง

หรือที่เราเรียกว่าเทคนิค “น้ำครึ่งแก้ว” นั่นคือ การมองว่าเรื่องร้ายๆที่เกิดขึ้นกับเรานั้นจริงๆแล้วมันไม่ได้พรากทุกอย่างไปจากเร

เช่น หากคลื่นสึนามิพัดบ้านเราหายไป เราก็ยังมีอวัยวะเหลืออยู่ครบ 32

หรือหากขาขวาของเราขาดไปด้วย เราก็ยังเหลือขาซ้าย

หากขาซ้ายก็ขาดไปอีก เราก็ยังเหลือแขน 2 ข้าง

และถ้าแขนทั้ง 2 ข้างก็ขาด เราก็ยังเหลือหัวอยู่ครับ

หรือถ้าหัวของเราก็ขาดไปด้วย ก็แปลว่าเราคงไม่ต้องคิดอะไรมากแล้วครับ

2.โชคดีที่เรื่องที่แย่กว่านี้ไม่เกิดขึ้น

การคิดแบบนี้จะคล้ายกับข้อแรก แต่จะเป็นการมองว่า โชคดีแค่ไหนแล้วที่เรื่องที่เกิดขึ้นไม่ได้เลวร้ายไปกว่านี้ เช่น

หากคุณจับได้ว่าแฟนนั้นแอบไปมีกิ๊ก ก่อนที่คุณจะแต่งงานกับเขา คุณก็สามารถบอกตัวเองได้เลยครับว่า
“โชคดี ที่รู้ก่อนแต่ง”

หรือ ถ้าหากคุณเพิ่งแต่งงานกับเขาได้ไม่ถึง 1 เดือน แล้วเขามีกิ๊ก คุณก็สามารถบอกตัวเองได้อีกครับว่า
“โชคดี ที่รู้ก่อนที่จะมีลูก”

หรือ ถ้าคุณมีลูกกับเขาไปแล้ว 1 คน แล้วเขามีกิ๊ก คุณก็ยังสามารถบอกตัวเองได้ครับว่า

“โชคดี ที่รู้ตอนมีลูกแค่คนเดียว” (ถ้าเลิกกันก็ยังพอที่จะเลี้ยงเองได้)

และแน่นอนครับว่า หากคุณจับได้ว่าเขามีกิ๊ก ตอนคุณมีลูกกับเขาไปแล้ว 3,152 คน ก็ย่อมดีกว่าที่คุณจะไปจับได้ตอนที่คุณมีลูกกับเขา 3,153 คนครับ

3.เรื่องร้ายๆที่เกิดขึ้นนี้ “สอน” อะไรเราบ้าง

เชื่อมั้ยครับว่าทุกครั้งที่เรา ต้อง “สูญเสีย” อะไรบางอย่างไป ไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สิน โอกาสในชีวิต หรือ ความสัมพันธ์กับผู้อื่น เราก็มักจะได้ ความรู้ หรือ ประสบการณ์ชีวิตเพิ่มขึ้นมาด้วยเสมอ

เช่น การเผลอเปิดเตาแก๊สทิ้งไว้ จนไฟไหม้บ้านนั้นจะทำให้เรารู้ว่า “เราควรปิดวาว์ลแก๊สทุกครั้งหลังจากใช้เสร็จ”

การให้เพื่อนสนิทยืมเงิน แล้วเพื่อนไม่คืน จนเลิกคบกัน สอนให้เรารู้ว่า “เรื่องเงินไม่เข้าใครออกใคร”

การกินเหล้าจนเมาแอ๋แล้วไปขับรถ จนรถชนพังยับไปทั้งคันนั้น ก็สอนให้เรารู้อีกว่า “เมาไม่ขับ”

โดยสิ่งที่คุณต้องเสียไปนั้น จริงๆแล้วมันคือ “ค่าเล่าเรียน” ที่คุณจะต้องจ่ายเพื่อให้ได้ความรู้ หรือ ประสบการณ์ชีวิตอันล้ำค่านั้นมาครับ

และแน่นอนครับว่าค่าเล่าเรียนที่คุณต้องจ่ายนั้นมักจะมีราคาแพง นั่นเป็นเพราะว่าคุณได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก นั่นคือ “มหาลัยชีวิต” นั่นเองครับ

ดังนั้นเมื่อเสียค่าเล่าเรียนไปแล้ว ก็อย่าลืมนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องร้ายๆซ้ำรอยเดิมอีกนะครับ

เพราะหากคุณยังคงคิดแบบเดิมๆ ใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ก็มีความเสี่ยงสูงมากที่ชีวิตคุณจะกลับมาเจอปัญหาแบบเดิมๆ และเมื่อนั้นคุณอาจจะต้องจ่าย “ค่าเล่าเรียน” ซ่อมเสริมอีกรอบนึง


ที่มา หมอตั้ม : https://www.facebook.com/Growingupnormal/photos/a.257974647717243.1073741829.257704944410880/306113039570070/?type=1


มองโลกในแง่ดี
===========
๑. อะไรที่เกิดขึ้นล้วนดีทั้งนั้น อย่างน้อยก็ยังดีที่ไม่แย่ไปกว่านั้น
ตัวอย่างคนที่คิดแบบนี้คือ พระปุณณะ
ครั้งที่ขออนุญาตพระพุทธเจ้า ไปเมืองสุนาปรันตะ
ซึ่งพระปุณณะตอบพระพุทธเจ้าว่า
ถ้าเขาด่า ก็ยังดีกว่าเขาทุบตี
ถ้าเขาทุบตี ก็ยังดีกว่าเขาเอาก้อนหินมาขว้าง
ถ้าเขาเอาก้อนหินมาขว้าง ก็ยังดีกว่าเขาเอาไม้มาฟาด
เป็นต้น

๒. นอกเหนือจากสิ่งแย่ๆ ก็ยังมีสิ่งดีอีกมากเคียงคู่กัน
เช่น แม้รายได้จะลด แต่ยังมีสุขภาพที่ดี ครอบครัวที่อบอุ่น เป็นต้น
เรามัวแต่ไปจดจ่อกับสิ่งที่ไม่ดี เลยรู้สึกแย่

วันหนึ่งครูชูกระดาษแผ่นหนึ่งให้นักเรียนดู
แล้วถามนักเรียนว่าเห็นอะไรบ้าง
นักเรียนทั้งชั้นบอกว่า เห็นกากบาทสีดำอยู่มุมซ้ายของกระดาษ
ครูจึงถามว่า แล้วนักเรียนไม่เห็นสีขาวของกระดาษบ้างเลยหรือ

ที่มา สุขแท้ด้วยปัญญา (พระไพศาล วิสาโล)



การรับมือกับปัญหาด้วย OPTIM
- Others หาแหล่งสนับสนุนอื่นๆ หรือเรียนรู้จากผู้อื่น ด้วยคำถามว่า "คนอื่นเขาทำกันอย่างไร"
- Positive views มองหาด้านบวก "เรื่องที่เกิดขึ้นทำให้เราเรียนรู้อะไร ฝึกฝนในเรื่องอะไร หากเราผ่านเรื่องนี้ไปได้ เราจะเป็นอย่างไร" ท้อเป็นถ่าน ผ่านเป็นเพชร
- Time frame มองหาเวลาสิ้นสุด หรือมองย้อนเวลา "ปัญหาเริ่มเมื่อใด คิดว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด"
- Impact มองไปที่ผลกระทบ "ถ้าหนักกว่านี้ จะเป็นอย่างไร" (ยังดีนะที่ไม่ถึงขนาดนั้น)
- Manage มองถึงการจัดการเรื่องนี้ด้วยด้วยตนเอง "มีอะไรบ้างที่เราพอจะทำได้บ้าง ในตอนนี้ แม้จะไม่มากก็ตาม เพื่อคลี่คลายปัญหาและลดผลกระทบ"

ที่มา สอนให้ลูกคิดบวก

No comments:

Post a Comment