Saturday, December 12, 2009

Pineal gland

การหลับคืออะไร?
=============
Sleep คือ สภาวะการหมดสติ (unconsciousness)
สภาวะทางพฤติกรรมซึ่งมีการหลุดพ้นของการรับรู้
และการไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม
โดยที่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้

ส่วน Coma เป็นสภาวะการหมดสติ
แต่ไม่สามารถปลุกได้ด้วยการกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าต่างๆ


การมีสติ และการหมดสติ
==================
เราแบ่งภาวะการมีสติ หรือ “Consciousness” เป็น 3 ช่วง คือ
awake, asleep, drowsy

โดยดูจาก 2 ทาง คือ
1) ทางพฤติกรรม
2) ดูการทำงานของสมอง โดยผ่าน electroencephalogram (EEG)


Why Sleep?
==========
การนอนไม่ใช่การพักการทำงานของสมองทั้งหมด
ที่จริง สมองเราไม่ได้หยุดการทำงานเลย

>>แล้วทำไมเราต้องนอนด้วยล่ะ?

เหล่านักวิทยาศาสตร์คาดว่า..

1. การนอนหลับ คือ การปรับตัว (Sleep is adaptive)
- เพื่อแบ่งปันอาหารให้สัตว์ต่าง species
- เพื่อสะสมพลังงาน
สัตว์ที่ metabolism สูง--> นอนมาก
- หลีกเลี่ยงการถูกล่า ในความมืด
- เพื่อช่วยควมคุมอุณหภูมิของร่างกาย (Thermoregulation)
การหลับ ช่วยให้ร่างกายเย็นลง

2. การนอนหลับ คือ การฟื้นฟูร่างกาย (Sleep is restorative)
เพื่อฟื้นฟูร่างกาย ช่วยการซ่อมแซมส่วนสึกหรอ
- growth hormone ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต จะหลั่งมากขณะหลับ
ดังนั้น น้องๆที่ขายพวงมาลัย ตามสี่แยก ไม่หลับ ไม่นอน
จะเห็นว่าตัวแกร็นๆกันทั้งนั้น คาดว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากการอดนอนด้วย

3. การนอนหลับช่วยในการเรียนรู้ (Sleep promotes learning)
การอดนอนมีผลต่อการเรียนรู้ การอดนอนในช่วง REM ทำให้การ
เรียนรู้แย่ลง


แสงสว่างกับการนอน
===============
แท้ที่จริงสัตว์ต่าง ๆ ล้วนมีโครงสร้างของสรีระร่างกายที่กำหนดว่า
สัตว์นั้นเป็นสัตว์กลางวันหรือสัตว์กลางคืน
อย่างค้างคาว นกฮุก แมว ต้องถือว่าเป็นสัตว์กลางคืน
เพราะมีเรดาร์มีตาโตเอาไว้ใช้งานตอนกลางคืน
แต่คนเราเป็นสัตว์กลางวัน

เดิมทีสัตว์มีกระสูกสันหลัง ชนิดแรกของโลกคือตัว ซาลามันเดอร์
มีตาอยู่ 3 ดวง
ดวงตาที่ 3 เป็นเกล็ดอยู่ ตรงกลางหน้าผากคอยทำหน้าที่รับแสงตะวัน
เวลากลางวันและสร้างฮอร์โมน ซีโรโตนิน ทำให้มันแจ่มใส ออกมาหากิน
ส่วนเวลากลางคืนนั้นจะสร้างฮอร์โมน เมลาโตนิน (Melatonin) ทำให้มันง่วงนอน

(เมลาโทนินถูกสร้างในตอนกลางวันด้วย
แต่จะน้อยกว่าตอนกลางคืน
เนื่องจากอิทธิพลของแสง)

ครั้นวิวัฒนาการจนมาเป็นคน
เกล็ดนี้จมลึกเข้าไปในหน้าผาก
กลายเป็นต่อมเหนือสมอง หรือ ต่อมไพเนียล (pineal gland)
ยังคงสร้างฮอร์โมน สองชนิดนี้อยู่สลับกันทุกวัน
หรือเรียกอีกอย่างว่า ต่อมนาฬิกาขีวภาพ (biological clock)
ที่ปลุกให้เราตื่นในตอนเช้า
และกล่อมให้เราหลับในกลางคืนโดย อัตโนมัติ

>>ทำไมเด็กบางคนนอนตื่นสาย

นาฬิกาเวลาของวัยรุ่น ช้ากว่าเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี เกือบ 2 ชั่วโมง

ฮอร์โมน เมลาโทนิน (melatonin) ที่ทำให้ง่วง
สำหรับเด็กอายุก่อน 13 ปี จะหลั่งช่วง 20.00-21.00 นาฬิกา
ส่วนของวัยรุ่น ส่วนใหญ่จะเป็นช่วง 23.00 น.

ฮอร์โมนคอร์ทิโซล (cortisol) ที่กระตุ้นการตื่น
ในวัยรุ่นจะหลั่งหลัง 8.15 น. ทำให้วัยรุ่นสลึมสลือตอนเช้า

องค์ความรู้เหล่านี้อาจนำไปสู่การจัดการศึกษาได้ โดยเลื่อนเวลาเรียนให้สายกว่านี้หน่อย


>>ผลของเมลาโทนินต่อการเจริญเติบโต

ถ้าต่อมไพเนียลไม่สามารถสร้างเมลาโทนินได้ จะทำให้เป็นหนุ่มเร็วกว่าปกติ
แต่ถ้าสร้างมากเกินไปจะทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้ากว่าปกติ

>>ถ้าต่อมไพเนียลถูกรบกวน

การตากแสงไฟดึก ๆ จึงเป็นการรบกวนต่อมไพเนียล
ซึ่งเป็นนายเหนือต่อมฮอร์โมนทั่วร่างกาย
มันส่งคำสั่งไปยังต่อมใต้สมองไป ไทรอยด์ ต่อมหมวกไต รังไข่ และอัณฑะ
ถ้าต่อมไพเนียลทำงานผิดเพี้ยนไป ฮอร์โมนทั่วร่างกายก็ผิดเพี้ยนไปด้วย

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ทำการทดลองส่องไฟ ในหนูทดลองตลอดคืน
ทำอยู่เช่นนั้นหลายวัน ปรากฏว่า หนูทดลองถึงกับแท้งลูก

งานวิจัยอีกชิ้นในสหรัฐฯ
ทดลองในพยาบาลเวรดึกกลุ่มหนึ่งให้ออกเวรแล้ว
เดินผ่านอุโมงค์มืด ๆ ไปเข้านอน
อีกกลุ่มให้เดินผ่านแสงตะวันยามเช้าไปนอน
เมื่อเจาะเลือดเปรียบเทียบระดับฮอร์โมนของร่างกาย
พบว่า พยาบาลกลุ่มหลังฮอร์โมนแปรปรวนไปหมด
ขณะที่กลุ่มแรกฮอร์โมนยังคงอยู่ในเกณฑ์ปกติ


>> circadian rhythm
นาฬิกาชีวิตที่กำหนดกลางวัน-กลางคืน
(ควบคุมวงจรตื่น-หลับ)

เส้นสีแดง (sleep urge) แสดงระดับความง่วงปกติ
ซึ่งมีจุดสูงสุด (peak) 2 เวลา คือ
24.00 และ 14.00 นาฬิกา

เส้นสีดำ (sleep need) แสดงความต้องการนอน
เส้นความต้องการนอนนี้ ถ้าเพิ่มถึงระดับหนึ่ง
คนจะเริ่มหลับในช่วงสั้นๆ (หรือวูบโดยไม่หลับตา) 2-3 วินาที
(microsleeps)
และตามมาด้วยการหลับใน

เส้นประแนวเฉียงใต้เส้นสีดำ แสดงการเข้านอน
ซึ่งจะทำให้ความต้องการนอนลดลง


>>ผลกระทบที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของนาฬิกาขีวภาพ
(Circadian rhythm disorders) ที่พบได้บ่อย ได้แก่
delayed sleep phase syndrome (DSPS),
advanced sleep phase syndrome (ASPS),
jet lag,
shift work
และ การเข้านอน - ตื่นนอนไม่เป็นเวลา (irregular sleep-wake patterns)

อาการเหล่านี้ทำให้เกิดการไม่สมดุลระหว่าง
ความต้องการนอนและสถานการณ์แวดล้อม
ผลก็คือ ง่วงผิดที่ผิดทางนั่นเอง

No comments:

Post a Comment