Monday, July 4, 2011

have a temperature

ไข้ต่ำ
=====
เนื่องจากโรคบางโรคถ้าผู้ปกครองให้ยาลดไข้พร่ำเพรื่อเกินไป
อาจทำให้การวินิจฉัยและการติดตามโรคทำได้ยากขึ้น โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกเป็นต้น

บางครั้งถ้าไข้ต่ำๆ ลูกไม่งอแง (อาการติดเชื้อไม่รุนแรง)
ก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาก็ได้ การปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม ก็เพียงพอแล้ว
โดย...

- การเช็ดตัว (ซึ่งควรใช้น้ำประปา หรือน้ำพออุ่นเช็ดตัวลูกโดยมีทิศทางการเช็ดจากส่วนต่างๆ ของร่างกายมุ่งสู่หัวใจ)

- ให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างพอเพียง เพื่อให้มีเหงื่อและปัสสาวะที่เพียงพอจะได้ระบายไข้ได้
โดยให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ (ไม่ใช่มากเกินไป)

- ให้ลูกกินอาหารอ่อนๆ ครั้งละน้อยๆ
อย่าลืมว่าการได้รับสารอาหารจะช่วยทำให้ผลการรักษาดีขึ้น

- ทำให้เสมหะหรือน้ำมูกไม่คั่งค้าง ไม่อุดกั้นทางเดินหายใจ
โดยการดื่มน้ำมากๆ

- การทำกายภาพบำบัดทรวงอก (หรือเคาะปอด) เพื่อช่วยระบายเสมหะ

- ถ้าลูกไม่มีไข้ ก็ควรสวมเสื้อผ้าหนาๆ เพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่น
ถ้าเสมหะยังเหนียวและขับออกลำบาก อาจจะให้ยาละลายเสมหะ
และอาจให้สูดดมละอองไอน้ำ จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้

- การไม่อยู่ในห้องที่ร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไป

- พยายามป้องกันลูกจากควันบุหรี่หรือมลพิษในอากาศ
เพราะจะเกิดการระคายเคืองของทางเดินหายใจ และต่อมขับมูกจะทำงานมากกว่าปกติ


การดูแล และสังเกตุเมื่อลูกมีไข้ต่ำ
==========================
อาการที่บ่งชี้ว่าเกิดการติดเชื้อไวรัส ได้แก่
การมีไข้ต่ำๆ มีน้ำมูกใส
เด็กเล็กจะมีจมูกตันจนหายใจลำบาก มีเสียงครืดคราดเวลาหายใจ
อาจมีอาเจียนหรืออุจจาระร่วงร่วมด้วย ตาแดง ไอเสียงแหบ มีผื่นคันตามตัว
อาจเจ็บคอ แต่ไม่ถึงกับกลืนแล้วเจ็บ
กลุ่มนี้คุณพ่อคุณแม่รักษาตามอาการไปก่อนได้ครับ


สำหรับเชื้อไวรัสให้รักษาแบบประคับประคองตามอาการ โดยระวังภาวะแทรกซ้อน
เช่น
- ถ้าไอ ก็อาจให้ยาละลายเสมหะ
- ถ้ามีไข้ ก็ให้ยาลดไข้
- ถ้ามีน้ำมูก อาจต้องให้ยาลดน้ำมูก

ถ้าติดเชื้อไวรัสไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ !!!
(ขณะที่แบคทีเรียต้องให้ยาปฏิชีวนะไปฆ่าเชื้อโรค)


มีไข้สูง
=====
ถ้าผู้ใหญ่เป็นไข้ นอนให้เหงื่อออกซักคืนนึงก็หาย
แต่สำหรับเด็ก ถ้าใช้สูตรเดียวกัน เด็กอาจจะได้ไปเกิดใหม่ !!!

การใช้ยาลดไข้จะมีความสำคัญมากใน 24 ชม.แรก หลังมีไข้สูง
เนื่องจากลูกอาจชักเพราะไข้สูงได้ !!!
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวัง ควบคุมอาการไข้และใช้ยาลดไข้อย่างเคร่งครัดใน 24 ชั่วโมง

และถ้า 2-3 วันแล้วไข้ยังไม่ลด ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคให้ถูกต้อง
ยิ่งถ้าลูกไม่มีอาการไอ และไม่มีน้ำมูก 2-3 วัน ยิ่งควรรีบไปพบแพทย์เลย ***



ยาลดไข้
=======
ยากลุ่มนี้มีตัวยาหลัก ๆ อยู่ 3 ตัวด้วยกันได้แก่
พาราเซตามอล (Paracatamol) แอสไพริน (Aspirin) และไอบูโปรเฟน(Ibuprofen)

ยาแต่ละตัวมีคุณสมบัติดังนี้: พาราเซตามอล แอสไพริน ไอบูโปรเฟน
ประสิทธิภาพการลดไข้: โดยรวมแล้วไม่แตกต่าง แต่เด็กแต่ละคนให้ผลไม่เท่ากันได้
เริ่มออกฤทธิ์ลดไข้: 30 นาที-1ชม. 30นาที-1ชม. 3นาที-1ชม.
ระดับยาสูงสุดในร่างกาย: ประมาณ 2 ชม. ประมาณ 2 ชม. ประมาณ 2 ชม.
ออกฤทธิ์อยู่นาน: 4-6ชม. 4-6ชม. 6ชม.
..

ผลข้างเคียง (ขึ้นอยู่กับปริมาณที่กิน)
ป่วน ระคายกระเพาะ กระเพาะได้ เลือดออกในกระเพาะ
ใช้ติดต่อกันอาจมีผลต่อตับไต หรือ ผื่นตามตัวได้
= ต้องดื่มน้ำตามมากๆ

ข้อห้ามใช้ โรคกระเพาะ โรคเลือด โรคกระเพาะ เป็นต้น (ศึกษาเพิ่มเติม)



การดูแล และสังเกตุเมื่อลูกมีไข้สูง
==========================
ถ้ามีอาการบ่งชี้ว่าเป็นแบคทีเรีย ก็ให้ไปพบแพทย์ได้
ได้แก่ อาการเจ็บคอกลืนลำบาก ทอนซิลแดง
โดยเฉพาะมีจุดเลือดออกที่ทอนซิล ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต น้ำมูกเหลืองเขียวจัดเป็นยอง

แต่ถ้ามีหลักฐานว่าเป็นไวรัส ได้แก่ น้ำมูกใส จามบ่อย ตาแดง ไอเสียงแหบ มีผื่นตามตัว
แบบนี้รักษาตามอาการไปก่อนได้ครับ

หมอไม่อยากให้ผู้ปกครองซื้อยาปฏิชีวนะทานเอง เนื่องจากยาปฏิชีวนะมีหลายชนิดมาก
การใช้ที่บ่อยเกินไปจะทำให้ดื้อยาได้ ต่อไปจะหายามารักษายากขึ้น

แต่ก็ต้องระวังว่า ถ้าเป็นแบคทีเรียแล้วใช้ยาปฏิชีวนะช้าเกินไป โรคอาจลุกลามและรักษายากขึ้น !!!

คุณพ่อคุณแม่ห้ามใช้ยาปฏิชีวนะทุกครั้งที่ลูกเป็นไข้ไม่สบายนะครับ !!!!
ควรใช้ให้ถูกเวลาจะมีประโยชน์มาก สำหรับปริมาณและระยะเวลาการใช้
แพทย์จะเป็นคนกำหนดตามแต่วินิจฉัยว่าเป็นโรคอะไร และเชื้อน่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรียตัวใด กลุ่มใด


การวัดผล

หมอ: อาการมีไข้สูง เป็นตัวบ่งชี้ว่า ยังมีการติดเชื้ออยู่ (เหมือนเสมหะสีเขียว)

(หมอ: บางครั้งสาเหตุของการมีไข้ เกิดขึ้นจากหูอักเสบ)

ถ้ากินยาฆ่าเชื้อต่อเนื่องระยะเวลาหนึ่ง แล้วไข้ยังขึ้นๆลงๆ แปลว่า ยาไม่ได้ผลแล้ว


-----------------------------------------

แก้ไม่ตรงจุด กินยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ ส่งผลเสียทั้งตัวเองและโดยรวม

ยาแก้อักเสบ, ยาปฏิชีวนะ, หรือยาต้านจุลชีพ (Antibiotics) เช่น Amoxicillin
เป็นยาที่ใช้รักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย


(หมอแมว: มีส่วนน้อย ที่ใช้ในการรักษาเชื้อไวรัสหรือเชื้อรา)

หมอแมว : การดื้อยาของเชื้อโรค
สามารถเกิดได้ทุกครั้งที่เชื้อโรค(ที่หลงเหลือ หลบซ่อน อยู่ในตัวเรา)ได้เห็นยา ...

หมอแมว : หนทางเดียวที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการดื้อยาได้ ก็คือ
การใช้ยาปฏิชีวนะให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

หมอ:เชื้อโรคเปลี่ยนสายพันธุ์ไปเรื่อยๆ ที่เคยกิน Amoxicillin หาย เดี๋ยวนี้ก็เริ่มดื้อยา

หมอแมว :เชื้อโรคเมืองไทยเริ่มดื้อยามากขึ้นทีละน้อย

-----------------------------------------

ไม่จำเป็นต้องยาแพง

หมอแมว: ยาราคาแพงบางตัว ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีความสามารถฆ่าเชื้อไม่กี่ชนิด
และบ่อยครั้ง ที่ยาราคาแพงบางตัว ไม่สามารถนำมาใช้รักษาโรคง่ายๆได้
ยกตัวอย่างเช่น โรคติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ ใช้ยา Norfloxacin เม็ดละบาท สามวันหาย
แต่ไปใช้ยา Clindamycin ราคาแพงกว่ากันหลายสิบเท่า กลับไม่หาย

-----------------------------------------

ถามว่า: Amoxicillin สำหรับผู้ใหญ่ กินต่อเนื่องหลายๆแผงได้มั๊ย
หมอ: เป็นยาที่มีผลข้างเคียงน้อย

-----------------------------------------



ส่งท้ายจากใจหมอ
==============
คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ยาลูกและดูอาการลูกไปก่อนได้ถ้า...
1. ลูกมีอาการไอ หรือมีน้ำมูกด้วย
2. ลูกดูไม่ค่อยอ่อนเพลียมาก ไข้ไม่สูงมาก ไม่หอบ ไม่เหนื่อย
3. อาการบ่งชี้ว่าน่าจะเป็นไวรัส
4. ลูกไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง เช่น เคยชักเพราะไข้สูง
มีโรคประจำตัวรุนแรง เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด


ลูกอายุน้อยกว่า 6 เดือน ดูอาการและรักษาตามอาการไปก่อน 2-3 วัน ไม่เป็นปัญหาครับ
แต่ถ้าเลยจากนี้หรือดูแล้วลูกแย่ลง ก็ควรรีบไปพบคุณหมอให้วินิจฉัยและวางแผนการรักษาดีกว่า
และอย่าลืมว่าเวลาไปพบคุณหมอก็ต้องขอความรู้คุณหมอด้วยนะครับ ไม่ใช่ไปรับยาอย่างเดียว ***


"ยาบรรเทาอาการต่างๆ เช่น ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ และยาลดไข้
สามารถหยุดยาได้ทันทีเมื่ออาการดีขึ้น ไม่จำเป็นต้องรับประทานอย่างต่อเนื่อง"




ที่มา
- http://www.momypedia.com/boxTh/knowledge/printpage.aspx?no=477&p=1
พ่อคับ แม่ขา...ยานะไม่ใช่ขนม!
โดย: น.พ.สมบัติ เทพรักษ์ (นิตยสารรักลูก)
- http://www.kapookya.com/article_detail.php?id=23
- หมอแมว http://webboard.mthai.com/7/2006-10-25/277002.html

No comments:

Post a Comment