Friday, September 25, 2020

children with fear

#ความกลัวที่มีราคา

หมอไปเป็นวิทยากรงานประเทศนี้ไม่ตีเด็ก มีคุณพ่อถามขึ้นในตอนท้ายว่า 

“ถ้าเราไม่ตีลูก แล้วลูกจะกลัวเราหรอครับ”

ความเชื่อว่าลูกต้องกลัวพ่อแม่ ถูกฝังรากลึกในวัฒนธรรมการเลี้ยงดูเชิงลบ 

เราจึงเน้นการตีให้จำ ด่าให้เจ็บถึงใจ จะได้กลัวแล้วไม่ทำผิดซ้ำๆ 

ทั้งๆ ที่ความกลัว มีราคาที่เราต้องจ่ายเสมอ 

สมองของคนเราเมื่อกลัว ก็จะ 

“สู้” ซึ่งหลายครั้งหมายถึง ความก้าวร้าว ต่อต้าน ไม่ฟัง ไปจนถึงใช้ความรุนแรง (และความก้าวร้าวนั้นมักได้มาจากการเลียนแบบความรุนแรงจากพ่อแม่) 
เล็กๆ สู้ไม่ได้ พอโตขึ้นไปก็เริ่ม “เอาคืน” 

“หนี” โกหก ปกปิดความผิด เลี่ยงที่จะทำ ไม่กล้าลงมือ เพราะไม่อยากโดนกระทำด้วยความรุนแรง สะสมไปมากๆ ก็กลายเป็นคนวิตกกังวล โกหกไปวันๆ รู้สึกโลกไม่ปลอดภัย

“ยอม” เรามักจะเข้าใจว่าทำให้กลัวแล้วลูกก็ยอมโดยดี แต่เด็กที่โตมาแบบผู้แพ้ ก็สะสมความรู้สึก “ฉันไม่มีอำนาจ” “ฉันไม่มีความหมาย” “ฉันสู้เค้าไม่ได้” “ฉันไม่ดีพอ” สาเหตุของความนับถือตนเองที่ต่ำ และนำไปสู่โรคซึมเศร้า 

พ่อแม่ที่ทำให้ลูกกลัว มักจะต้องมาคอยตั้งคำถาม “ทำไมไม่เล่าให้แม่ฟัง” ทำไมต้องโกหกพ่อ” “ทำไมไม่ลองพยายามดู” “ทำไมไม่มั่นใจตัวเองเลย” 

คำถาม... ที่จริงๆ เราไม่อยากถาม

สมองที่ใช้แค่การเอาตัวรอดในการเรียนรู้ ไม่ใช่สมองที่พัฒนาไปได้ดี 

“สมองส่วนเอาตัวรอดทำงาน = สมองส่วนคิดจะปิดทำการ”

สมองส่วนคิด (executive function = EF)  ที่เราอยากให้ลูกพัฒนา จะพัฒนาได้ เมื่อเด็กเรียนรู้ด้วยความรู้สึกสงบ ปลอดภัย มีอารมณ์เชิงบวก 

อย่าเลี้ยงลูกให้ต้องกลัวเรา 

“ความกลัว” มีราคาที่เราต้องจ่ายเสมอ 

เลี้ยงลูกให้ “เคารพ” กัน 

เริ่มจากเรื่องง่ายๆ เป็น “พ่อแม่ที่น่าเคารพ”

#หมอโอ๋เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน
ผู้เชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ดี ไม่ควรมีพื้นฐานจากความกลัว

Monday, September 21, 2020

Miyazaki

【ความพยายามระดับที่ 1 ของโลก】
เคยสงสัยไหมคะ 
คนคนหนึ่ง จะก้าวขึ้นมาเป็นนักกีฬาโอลิมปิคเหรียญทอง 
เขาต้องทนฝึกหนักแค่ไหน 
แถมต้องทนรอตั้ง 4 ปี เพื่อมาวิ่งแข่งจริงแค่ 10 วินาทีเท่านั้น

มีชายญี่ปุ่นคนหนึ่ง ที่ลงแข่งการแข่งขันระดับโลก
ฝึกฝนและอดทนกว่า 10 ปี
จนได้เป็นที่ 1 ในวงการนั้น 
วงการของ Maître d'hôtel หรือหัวหน้าบริกร 
คนที่เป็นที่ 1 ของโลก เป็นคนแบบไหนกัน?
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Miyazaki Shin (宮崎辰-เกิดค.ศ. 1976) 
หลงรักการทำอาหารตั้งแต่เด็ก...
มีอยู่ครั้งหนึ่ง เขาลองทำอาหารง่ายๆ ให้ที่บ้านทาน
พ่อ แม่ พี่ชาย พี่สาวทุกคนชื่นชมว่าอร่อยมาก

เด็กชาย Miyazaki รู้สึกมีความสุขล้นใจ
 และหลงใหลในการทำอาหารแต่นั้นเป็นต้นมา
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เมื่อจบมัธยมปลาย Miyazaki เลือกเรียนต่อด้านการทำอาหาร
เมื่อเรียนจบ เขาเข้าทำงานที่ร้านอาหารฝรั่งเศสสุดหรูแห่งหนึ่งในโตเกียว

ระหว่างรอทำตำแหน่ง chef 
ทางร้านให้เขาเป็นผู้ช่วยบริกรไปก่อน 

ที่นั่น เขาได้พบกับหัวหน้าบริกร 
ซึ่งเป็นแชมป์ที่ 1 ในการประกวดหัวหน้าบริกรระดับประเทศ
Miyazaki ชื่นชมหัวหน้าท่านนั้น 
และฝันอยากเป็นที่ 1 ระดับประเทศเช่นกัน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คำว่า "หัวหน้าบริกร" หรือ Maître d'hôtel 
จริงๆ แล้ว เป็นตำแหน่งที่สำคัญมาก
ในร้านอาหารสุดหรูระดับโลก

หัวหน้าบริกรจะทำหน้าที่ตั้งแต่เชิญแขกเข้าร้าน
 ต้อนรับ ชงค็อกเทล หั่นเนื้อหรือปลาที่เชฟปรุงจากครัว
 หรือทำของหวาน เช่น เครป 

ท่วงท่าการจัดเตรียมต้องสง่างาม ปราณีต
เพราะเสมือนเป็นการแสดง Performance อย่างหนึ่งต่อหน้าลูกค้า

เพราะฉะนั้น ในการแข่ง "หัวหน้าบริกร" ระดับประเทศ
ผู้แข่งต้องมีความสามารถดังต่อไปนี้

1. จัดโต๊ะ และจัดดอกไม้ได้

2. จำเมนู และสามารถอธิบายให้แขกฟังได้
เช่น ผักจากที่ไหน เคล้าด้วยซอสอะไร รสชาติเป็นอย่างไร

ทั้งหมด ต้องอธิบายเป็นภาษาอังกฤษ
หรือภาษาฝรั่งเศสได้ 
นั่นแปลว่า การเตรียมตัวเรื่องภาษาก็เป็นสิ่งสำคัญ

ต้องมีความรู้เรื่อง Whiskey และ Wine
เพื่อแนะนำเครื่องดื่มที่เข้ากับอาหารได้ 

3. ตกแต่งจานออเดิร์ฟได้

4. สำหรับ Main Dish ต้องสามารถหั่นเนื้อ เลาะกระดูก
และจัดวางในจานอย่างสวยงามได้ 
ในการแข่งขัน เราจะไม่รู้ว่า โจทย์จะเป็นเนื้ออะไร
เพราะฉะนั้น ต้องหั่น
ทั้งเนื้อไก่ หมู แกะ ปลา ให้ได้ทั้งหมด 

5. ทำของหวานได้ 
ปรุงซอสราด หรือทำเครป ต่อหน้าแขก
หากแขกสั่งหวานมาก หวานน้อย เปรี้ยวนำ 
ก็ต้อง Made-to-order ได้เช่นกัน

6. ชงกาแฟได้ 

กล่าวโดยย่อ Miyazaki ต้องมีความรู้เรื่องต่อไปนี้ ..

การทำของคาว-หวาน-เครื่องดื่ม/ อาหารชนิดต่างๆ/ 
ด้านภาษาต่างประเทศ/ด้านบุคลิกภาพ/
เครื่องดื่ม (ค็อกเทล ไวน์ วิสกี้ กาแฟ)

ทุกอย่าง ต้องทำภายในเวลาที่กำหนดไว้
(แต่ละขั้นไม่เกิน 10-20 นาที)

เป็นการแข่งขันที่...โหดจริงๆ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
"ทุกอย่าง มาจากการฝึกซ้อม"

เมื่อตั้งเป้าหมายได้ 
Miyazaki ก็ลงมือ "ลุย" ทันที

ระหว่างทางไป-กลับบ้าน 
ไม่ว่าจะง่วงหรือเหนื่อยแค่ไหน
เขาจะนั่งอ่านหนังสือภาษาฝรั่งเศส

เขาซื้อเป็ดไก่มาหลายร้อยตัว 
เพื่อหัดใช้มีดหั่นเลาะให้สวยงามที่สุด 
ระหว่างนั้น ก็อัด VDO ไว้ เพื่อกลับมาดูภายหลังว่า
ท่าทางตนเองเวลาหั่นนั้น เกร็งไปหรือไม่
สง่างามพอหรือยัง

ตอนฝึกทำของหวาน 
ก็ต้องซื้อสับปะรดมาหลายสิบลูก
มาฝึกปอกตาสับปะรด และหั่นออกมาให้เท่ากัน
และสวยงามที่สุด 

นอกจากค่าน้ำค่าไฟ ค่าเช่าบ้านแล้ว
เงินเดือนทั้งหมด หมดไปกับค่าวัตถุดิบในการฝึกซ้อมหมด

ทุกวันหยุด 
Miyazaki จะไปเรียนจัดดอกไม้
กับครูที่โรงเรียนสอนทำอาหาร 
หรือไม่ก็ไปเรียนเทคนิคการหั่นเนื้อ หั่นปลา
กับเชฟชื่อดังตามที่ต่างๆ 

นอกจากนี้ เพื่อไม่ให้ตื่นเต้นในวันแข่งจริง
เขาขอให้เพื่อนที่เป็นเชฟ ช่วยย่างไก่หรือเป็ดให้
และเชิญแขกที่สนิทด้วย มาช่วยทาน
และให้ comment ว่า เขาบริการได้ดีหรือยัง

การแข่งขันระดับประเทศญี่ปุ่นนี้ จัดขึ้น 2 ปีครั้ง
Miyazaki ลงแข่งการแข่งขันระดับประเทศ 3 ครั้ง

ครั้งแรก ตอนอายุ 29 ปี ....ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ
ครั้งที่ 2 ตอนอายุ 31 ปี ....ได้ที่ 3 
จนครั้งสุดท้าย ตอนอายุ 33 ปี เขาคว้าที่ 1 มาครองได้ 

 6 ปี ที่เขามุมานะฝึกซ้อมพยายาม
10 ปี นับจากวันแรกที่เขาเริ่มมีความฝัน...
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
"มีดกลายเป็นอวัยวะหนึ่งของผม"

ผู้ชนะการแข่งขันระดับประเทศ จะมีสิทธิ์ไปแข่งขันระดับโลก
Miyazaki จึงตั้งเป้าหมายใหม่
คือ การเป็นที่ 1 ของโลก

เขากลับไปเกลาเทคนิคต่างๆ ใหม่หมด
ตั้งแต่การทำค็อกเทล กาแฟ ของหวาน 
โดยเฉพาะการหั่นเนื้อ ที่เขาคิดว่ายังทำได้ไม่ดีนัก

เขาฝึกซ้อมอย่างหนัก หลังเลิกงาน และเสาร์-อาทิตย์ตลอด

จนวันหนึ่ง เขารู้สึกว่า
"มีดที่ใช้หั่นกลายเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายผม" 

เขารู้ว่า ต้องกะน้ำหนักมีดหั่นไปถึงจุดไหน 
จะเจออะไร สัมผัสส่วนอ่อน-แข็งจากปลายมีดได้หมด
เสมือนมีดเป็นมือทั้ง 2 ข้างของเขา 

หลังจากวันนั้น วันที่ได้รู้สึก "สัมผัส" นั้น
เขามั่นใจในเทคนิคการหั่นเนื้อของเขา 
และไม่เคยกังวลอีกเลย

+++++++++++++++++++++++++++++++++++
"การฝึกซ้อมอย่างหนักหน่วง นำไปสู่ความมั่นใจ"

Miyazaki ฝึกอย่างหนักจนมั่นใจว่า 
ไม่น่าจะมีผู้แข่งขันคนใดฝึกหนักเท่าตนอีกแล้ว

อย่ารอปาฏิหาริย์...

"อย่าคาดหวังว่า 
พอถึงการแข่งจริงแล้ว เราก็ทำได้ดีกว่าที่ซ้อม
แต่จงฝึกให้ Performance ออกมาดีที่สุดอย่างสม่ำเสมอ"

การฝึกซ้อมอย่างหนักหน่วง 
ทำให้ Miyazaki เกิดความมั่นใจ 
และสงบนิ่งเมื่อถึงวันแข่งจริง

ในที่สุด ... เขาก็คว้าตำแหน่งที่ 1 ของโลกมาครอง
หนุ่มญี่ปุ่น... ที่แข่งการแข่งขันการบริการอาหารฝรั่งเศส
และเอาชนะคนฝรั่งเศสหรือคนยุโรปอื่นๆ ได้ในทีสุด  

ปัจจุบัน Miyazaki มีความฝันใหม่อีกแล้ว....
นั่นคือ การทำให้อาชีพ "หัวหน้าบริกร" เป็นที่รู้จักในประเทศมากขึ้น
เฉกเช่นเดียวกับ Patissier (เชฟทำขนม) หรือ
ซอมเมอลิเยร์ (ผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์) 

วงการนี้จะได้มีคนเก่งๆ เข้ามาช่วยกันพัฒนาเทคนิคยิ่งขึ้นไปอีก
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แม้แต่คนที่อยู่ญี่ปุ่นมานานอย่างดิฉัน
เมื่อได้อ่านเรื่องของคุณ Miyazaki
ก็ยังรู้สึกว่า...
"คนเรา มันอดทนและพยายามกันได้ขนาดนี้เชียวเหรอ?"

แม้ยังไม่ได้มีความฝันระดับ "โลก"
แต่ดิฉันรู้แล้วว่า 
หากตัวเองเหนื่อยและท้อกับการทำอะไรบางอย่าง
ดิฉันควรจะนึกถึงใคร

ความพยายามอย่างไม่หยุดยั้ง
การฝึกซ้อมจนเกิดความมั่นใจ
การทำสิ่งที่ทำได้ดีอยู่แล้ว ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก 
การไม่ลดละความพยายาม
และ
การไม่หยุดฝัน
ของ Maître d'hôtel Miyazaki Shin

Japan Gossip by เกตุวดี Marumura

เรียบเรียงจากหนังสือเรื่อง "世界一のおもてなし" 
โดย Miyazaki Shin 

ป.ล. ใครอ่านภาษาญี่ปุ่นออก และชอบแนวชีวประวัติคน เล่มนี้ แกเขียนสนุกมากค่ะ ได้กระโดดเข้าไปในโลกของการบริการ โลกของการทำอาหาร เป็นโลกที่เราไม่เคยรู้มาก่อน 

ป.ล. 2 ที่คุณ Miyazaki พยายามได้ขนาดนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเขามีใจรักการบริการ รักการทำอาหาร รักและภูมิใจในอาชีพนี้ค่ะ

Wednesday, September 16, 2020

Same joke story

Charlie Chaplin told the audience a wonderful joke and all the people started laughing... 
วันหนึ่ง ชาร์ลี แชปลิน เล่าเรื่องตลกมากเรื่องหนึ่งแก่ผู้ฟัง แล้วผู้คนทั้งหมดก็หัวเราะ

Chapline repeated the same joke and only few people laughed..???? 
พอเล่าจบ ชาร์ลีก็ เล่าเรื่องตลก เรื่องเดิมซ้ำอีกครั้ง คราวนี้มีคนหัวเราะออกมาน้อยมาก

He again repeated the same joke but this time no one laughed...?????? 
เขาเริ่มเล่าเรื่องตลกเรื่องเดิมซ้ำเป็นครั้งที่สาม คราวนี้ ไม่มีใครหัวเราะเลย

Then he told these beautiful lines...; 
แล้วเขาก็พูดสิ่งที่สวยงามต่อไปดังนี้

"when you cannot laugh on the same joke again and again... 
then why do you cry again and again on the same worry" 
เมื่อคุณไม่สามารถหัวเราะให้กับเรื่องตลกที่เล่าซ้ำ แล้วทำไม คุณถึงร้องไห้ให้กับเรื่องเศร้าเก่าๆ ได้เรื่อยๆ ล่ะ

So enjoy your every moment of life..!! 
Life is beautiful?????? 
Today is a good day to recollect his 3 heart-touching statements:- 
จงมีความสุขในทุกขณะ
เพราะชีวิตเป็นสิ่งสวยงาม
และวันนี้เป็นวันดีที่จะรำลึกถึงสิ่งที่เขาได้กล่าวไว้ 3 อย่าง

(1) Nothing is permanent in this world, not even our troubles. 
หนึ่งคือ ไม่มีอะไรจีรังในโลกใบนี้ แม้กระทั่งปัญหาของเรา

(2) I like walking in the rain, because nobody can see my tears. 
สองคือ ฉันชอบเดินท่ามกลางสายฝน เพราะจะไม่มีใครมองเห็นน้ำตาของฉันได้เลย

(3) The most wasted day in life is the day in which we have not laughed. 
สามคือ วันที่เราสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ คือวันที่เราไม่ได้หัวเราะออกมาเลย


Cr : Forward LINE

Friday, September 4, 2020

345

3 เรื่องราว 4 ขอบคุณ 5 ทำไม

คุณซากุราอิ เอริโกะ อดีตผู้ฝึกอบรมพนักงานของดิสนีย์และเป็นอาจารย์สอนด้านจิตวิทยาและแนวคิดการให้บริการของดิสนีย์ เล่าเรื่องราวสนุกๆและน่าประทับใจไว้หลายเรื่องในหนังสือ “disneyland ทำอะไรทำไมใครๆก็หลงรัก” (ซึ่งผมได้ไอเดียมากมายและคงเอามาทยอยเล่าได้หลายตอน)   

หนังสือที่ดีงามเล่มนี้เป็นเรื่องของความ “ใส่ใจ” ในรายละเอียด ในผู้คน ทั้งวิธีคิดและทัศนคติ ส่วนหนึ่งในหนังสือมีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับความใส่ใจอยู่สามเรื่องที่นำด้วยเลข 3 4 5 พอดีที่ทำให้ผมจำได้ง่ายๆ และน่ามาเผยแพร่ต่อ เป็นเทคนิคการคิดสามเรื่องที่น่าจะมีประโยชน์อยู่ไม่น้อย

3 เรื่องราว

คุณเอริโกะบอกว่า มีงานวิจัยด้านจิตวิทยาระบุว่าความจำระยะสั้นของคนเราจะจำข้อมูลในปริมาณจำกัดได้ไม่เกินสี่อย่าง เป็น magical number เวลาจะปรึกษาหรือสอนอะไรก็ควรจะทำครั้งละ 3-4 เรื่อง

เจ้านายและสุดยอดโค้ชของผม คุณซิกเว่ เบรกเก้ ซีอีโอ เทเลนอร์ก็เคยสอนเรื่องนี้ให้ผมไว้เช่นกัน ว่าถ้าจะเล่าอะไรหรือขึ้นไปกล่าวอะไรบนเวที ให้นึกแค่สามประเด็นพอ หนึ่ง สอง สาม ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม เพราะคนจะสนใจและจำได้แค่ประมาณนั้น ซึ่งผมก็ใช้เป็นเทคนิคในการพูดในที่สาธารณะและคุยกับทีมงานมาโดยตลอด บทความนี้ที่เขียนก็ใช้เทคนิคสามเรื่องให้คนจำได้ง่ายเช่นกัน

4 ขอบคุณ 

คุณเอริโกะเล่าถึงเทคนิควิธีการ “ขอบคุณ” ให้คนจำได้นั้น ควรจะขอบคุณสี่ครั้ง ในสี่จังหวะ คุณเอริโกะยกตัวอย่างว่าถ้ามีผู้ใหญ่เลี้ยงอาหาร ขอบคุณครั้งแรกก็คือตอนจะแยกจากกัน ครั้งที่สองก็อาจจะเขียนอีเมล์ไปขอบคุณอย่างสุภาพอีกครั้ง

แต่ถ้าอีกซักอาทิตย์ เราส่งไปขอบคุณอีกทีพร้อมเรื่องราวเช่น อาหารอร่อยมาก ก็เลยว่าจะพาพ่อแม่ไปอาทิตย์นี้ และครั้งสุดท้ายเมื่อผ่านไปซักเดือน ส่งไปขอบคุณเรื่องราวที่เกิดจากบทสนทนาบนโต๊ะอาหารเช่นได้อ่านหนังสือสอนวิ่งที่ได้รับคำแนะนำมาก็เลยเริ่มวิ่งตามคำแนะนำแล้ว

ในมุมของคุณเอริโกะคือผู้ใหญ่นั้นเลี้ยงอาหารคนตลอดเวลา การที่อยากให้เป็นที่จดจำสำหรับผู้ใหญ่ การทำเกินคนอื่น`ก็เป็นเทคนิคอย่างหนึ่ง รวมถึงการเขียนขอบคุณด้วยลายมือก็เป็นการแสดงความใส่ใจอีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน

5 ทำไม

การค้นหาปัญหาและทำการแก้ไขเป็นทักษะสำคัญของคนที่ทำงานเก่งๆ คุณเอริโกะแนะนำให้ฝึกนิสัยในการพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างลึกซึ้งด้วยการถามคำถามอย่างที่โตโยต้าเรียกว่า why why analysis โดยวิธีการคือตั้งคำถามกับเหตุการณ์หรือปัญหาว่าทำไมต้องเป็นแบบนั้น พอได้คำตอบก็ถามจากคำตอบนั้นไปเรื่อยๆ 5 ครั้งจนได้รากของปัญหาหรือรากของสาเหตุที่แท้จริง

คุณเอริโกะยกตัวอย่างว่าถ้าอยู่ดีๆสินค้าเกิดขายดีขึ้นมา การตั้งคำถามก็คือ ทำไมถึงขายดี ถ้าตอบว่าขายดีเพราะดาราแนะนำ ก็ถามต่อว่าทำไมดาราคนนี้แนะนำแล้วขายดี แฟนคลับเขาคือกลุ่มไหน ถามแบบนี้ไปเรื่อยๆจนครบห้าครั้งก็จะได้ข้อมูลที่ลึกซึ้งและถึงรากของเหตุการณ์เลยทีเดียว ผมลองเอาไปใช้ดูก็มีประโยชน์ตามที่คุณเอริโกะบอกจริงๆเพราะปกติผมถามแค่สองสามชั้นก็จบแล้ว  แถมเอามาลองใช้กับคำถามเรื่องชีวิต เป้าหมายในการทำงานก็สนุกไม่เบาเหมือนกันนะครับ

เลข 3 4 5 ในวันนี้เกิดจากหนังสือที่ดีงามมากๆที่อยากจะแนะนำให้อ่าน ไม่ใช่ตัวเลขไว้ซื้อหวยซึ่งต่อให้ช่วงนี้ลอตเตอรี่จะออกเลขที่ดูสวยงามก็คงไม่ออก 345 แน่ๆ…

แต่ถ้าถูกขึ้นมา เพจนี้น่าจะมีคนตามเพิ่มเป็นล้านได้อยู่เหมือนกันนะครับและอาจจะไม่มีใครถามว่าทำไมด้วย …

ที่มา https://www.facebook.com/101815121284197/posts/204495637682811/

Wednesday, September 2, 2020

Paper Cup

 "จำไว้คุณคือใคร"
.
มีนักพูดได้มายืนอยู่ ณ. ที่นี้ ท่ามกลางผู้เข้าฟังเป็นพันคน เค้าเพิ่งเกษียณมาเร็วๆ นี้ เค้าเป็นอดีตคนสำคัญ เขายืนอยู่หน้าเวที ในขณะที่เขาเริ่มการพูดของเขาโดย ยกกาแฟใน "ถ้วยกระดาษ" ขึ้นมาจิบ
.
เขาได้ขัดจังหวะในการพูดของเขาว่า
รู้มั้ยเมื่อปีที่แล้ว ผมเป็น "คนตำแหน่งสำคัญแห่งชาติ" ผมได้มาพูดอยู่ ณ. ที่นี้ ที่แห่งนี้

- เค้าเชิญผมมาโดยบินมาด้วยชั้นธุรกิจ
- มีรถไปรับที่สนามบินมาที่โรงแรม
- มีคนเช็คอินโรงแรมรอไว้ให้แล้ว พาผมขึ้นไปบนห้องพัก
- ตอนเช้ามีคนมารอรับที่ล็อบบี้โรงแรม และพาผมมาที่นี่ ที่ด้านหลังเวที พาไปห้องพักรอ
- เสิร์ฟกาแฟผมด้วย "ถ้วยกระเบื้อง" หรูหราสวยงาม


ผ่านมาตอนนี้......ผมไม่ได้เป็นตำแหน่งคนสำคัญพวกนั้นอีกต่อไปแล้ว
- ผมบินมาด้วยชั้นประหยัด
- นั่งแท็กซี่มาที่โรงแรมเอง
- เช็คอินเอง เช้าผมนั่งแท็กซี่มาที่นี่เอง
- เดินเข้าทางด้านหน้าเหมือนคนปกติและถามหาทางเข้ามาหลังเวที
- ผมขอกาแฟ มีใครคนนึงชี้นิ้วไปที่เครื่องทำกาแฟที่มุมห้อง
- และผมก็รินกาแฟใส่ "ถ้วยกระดาษ" ตรงนั้น


บทเรียนนี้สอนว่า
ถ้วยกระเบื้องไม่ได้มีไว้สำหรับผม มันมีไว้สำหรับ "ตำแหน่งที่ผมเป็น" คนส่วนใหญ่เป็น "ถ้วยกระดาษ"

เมื่อคุณเริ่มประสบความสำเร็จในชีวิต คุณจะได้รับความสะดวกสบาย อาจจะมีผู้คนที่ชื่นชมคุณ เรียกคุณว่า ท่านครับ ท่านค่ะ
เค้าอาจจะช่วยคุณถือกระเป๋า เปิดประตูให้คุณ ชงชาให้คุณดื่มทั้งๆ ที่คุณไม่ได้ร้องขอ แต่นั่นเค้าไม่ได้ทำให้คุณ

เค้าให้ค่ากับ "ตำแหน่งที่คุณเป็น" เมื่อคุณสูญเสียตำแหน่งนั้นไป หรือ คุณก้าวออกจากตำแหน่งนั้นไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็หายไปด้วย

จงจำไว้...อย่ายึดติด "หน้ากาก" หรือ "ตำแหน่งหน้าที่" ขอให้คิดซะว่ามันเป็นเพียงแค่ช่วงเวลานึงเท่านั้น ไม่ได้อยู่ตลอดไป สิ่งสำคัญที่สุดคือ "จงสร้างมิตรภาพ" ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นเอาไว้ให้มากๆ เพราะหน้ากากหรือตำแหน่งอาจจะไม่ได้อยู่ตลอดไป แต่ถ้าคุณมีมิตรแท้ มากเท่าไร ในวันใดที่ตำแหน่งนั้นหายไปแล้ว มิตรแท้นั้นยังคงอยู่และช่วยเหลือคุณในวันที่ตกอับได้แน่นอน.......

Cr : ข้อความถูกส่งต่อมาทาง LINE