การให้ยาลดน้ำมูก หมออยากเรียนว่า ควรพิจารณาก่อนว่าจำเป็นแค่ไหน
เราจะใช้เมื่อลูกมีอาการจนสร้างความรำคาญ นอนหายใจไม่สะดวก หลับๆ ตื่นๆ
เด็กเล็กดูดนมไม่ได้ งอแงมากเท่านั้น !!!
ยาลดน้ำมูก
=========
ยาลดน้ำมูกเป็นยาที่ใช้ไม่มากนักในเด็ก และต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง !!!
เนื่องจากผลข้างเคียงของยานี้
ยากลุ่มนี้มี 3 จำพวกส่วนใหญ่ คุณแม่มักรู้จัก
จำพวกที่ 1 ได้แก่ chlorpheniramine, Brompheniran, Diphenleyaramine, Tripeoldine
ออกฤทธิ์สั้นประมาณ 6-8 ชม. ผลข้างเคียงส่วนใหญ่เป็นปากคอแห้ง จมูกแห้ง (โดยเฉพาะลูกดื่มน้ำน้อย) และมีอาการง่วงซึม
จำพวกที่ 2 ได้แก่ Loratidine, Fexofenadine, Terfenadine, Astemizole ออกฤทธิ์ 12-24 ชม.
(Laratidine ยังนิยมใช้เป็นยารักษาโรคแพ้อากาศด้วย)
จำพวกที่ 3 ได้แก่ Cetirizine ออกฤทธิ์ 24 ชม.
บางชนิดใช้ยาหยอดจมูกเพื่อลดอาการคัดจมูก ได้แก่ Ephedrine, pseudorphedreue
แต่ห้ามใช้ติดต่อกันเกิน 3 วัน
ยาลดอาการคัดจมูกบางครั้งทำเป็นรูปรับประทานได้แก่ pseudoephear
ยาลดน้ำมูกนี้ห้ามใช้กับลูกที่เป็นหอบหืด !!!
เนื่องจากเสมหะลูกจะเหนียว จึงทำให้ลูกหอบได้
นอกจากนี้ยาลดน้ำมูกไม่ควรอย่างยิ่งที่จะใช้ร่วมกับยาที่ทำให้ง่วง ได้แก่ ยาแก้อาเจียน ยากันชัก
และที่สำคัญในทารกและเด็กเล็กต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
เพราะการได้รับยาลดน้ำมูกที่กินเกินขนาดจะกดการหายใจและอาจชักได้ !!!
ใช้แล้วเสมหะจะเหนียวจึงต้องดื่มน้ำมากๆ ด้วย ***
ส่วนยาที่ออกฤทธิ์ลดการคัดจมูกเป็นหลัก เด็กบางคนอาจมีอาการใจสั่นและหัวใจเต้นเร็วได้
ดังนั้นจึงไม่ควรใช้พร้อมกับยาขยายหลอดลม ***
เมื่ออาการคัดจมูกดีขึ้น น้ำมูกลดลง หลับได้ไม่งอแง ก็ควรหยุดยาไปได้เลยครับ ***
ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
================
การขับน้ำมูกทิ้งมีวิธีทำอื่นๆ อีกได้แก่
การใช้น้ำเกลือ หรือน้ำอุ่น หยอดจมูกให้น้ำมูกนุ่มขึ้น
จะได้เช็ดออกหรือดูดออกได้ง่าย
ถ้าลูกโตแล้วบางครั้งการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือก็เป็นการช่วยที่ดีมาก ***
เอาสลิ้งดูดน้ำเกลือแล้วจ่อพ่นเข้ารูจมูก แล้วให้ลูกก้มหน้าลงแล้วสั่งขี้มูก
ทำข้างละ2ครั้ง เช้า+ก่อนนอน
สังเกตุดูสาเหตุด้วย
===============
เมื่อเด็กเจอสารที่กระตุ้นอาการแพ้ ก็จะทำให้จมูกหลั่งเมือกออกมา
เนื่องจากระคายเคือง เมือกนี้ ไหลลงคอกลายเป็นเสมหะ
และจะกักเชื้อโรคไว้ และทำให้ป่วยเป็นหวัดบ่อยได้
การวัดผล
หมอ: บางครั้งอาการน้ำมูกไหล หายไป กลายเป็นเจ็บคอ
หมายถึง เชื้อโรค ได้เข้าไปในร่างกาย ลึกขึ้น
บางครั้งนอกจากอาการเจ็บคอ กลายเป็นเริ่มมีไข้
หมายถึง เชื้อโรค ได้เข้าไปในร่างกาย ลึกขึ้น
ปอดอาจจะเริ่มติดเชื้อ
ที่มา
- http://www.momypedia.com/boxTh/knowledge/printpage.aspx?no=477&p=1
พ่อคับ แม่ขา...ยานะไม่ใช่ขนม!
โดย: น.พ.สมบัติ เทพรักษ์ (นิตยสารรักลูก)
- http://community.momypedia.com/webboard_topic.aspx?tid=19377
น้ำมูกเขียว
============
การมีน้ํามูกหรือเสมหะข้นและเป็นสีเหลืองหรือเขียวเพียงประการเดียว ไม่ได้แปลว่า
เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือมีอาการแย่ลง
- โรคหวัดในระยะใกล้หาย เราจะมีอาการดีขึ้น
ปริมาณน้ํามูกจะลดลง แต่ลักษณะของน้ํามูกจะข้นขึ้น
และอาจเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเขียวโดยเฉพาะในตอนเช้า
ซึ่งไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
แต่เป็นลักษณะอาการของโรคหวัดตามปกติ จึงไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ
- คนที่เป็นหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน มักจะไอนานเป็นสัปดาห์ และมีเสมหะ
สีเขียวเหลืองได้ โดยไม่ได้มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- การมีน้ํามูกหรือเสมหะสีเขียวเหลือง ไม่ได้แปลว่าต้องกินยาปฏิชีวนะทุกครั้งไป
ที่มา http://newsser.fda.moph.go.th/rumthai/userfiledownload/asu136dl.pdf
No comments:
Post a Comment