สมองส่วน เก่าแก่ (primitive)ที่มีอยู่ในมนุษย์ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์
(เช่น สมองส่วน อะมิกดะลา (amygdala) ซึ่งอยู่ในสมองส่วน กลีบขมับ (temporal lobe))
ที่ทำหน้าที่ประมวลผลอารมณ์
อยู่เหนือการควบคุมของจิตสำนึกของมนุษย์
โดยมันจะทำงานอย่างรวดเร็วและพยายามตีความทุกอย่างให้ง่ายกว่าความเป็นจริง (oversimplfy)
เมื่อมันทำงานเราจึงไม่รู้ว่ามันเข้าควบคุมพฤติกรรมอะไรของเราบ้าง
สมองส่วนนี้ชอบคำชม และตอบสนองต่อคำติเหมือนกับตอนที่เราถูกโจมตีหรือทำร้าย
สมองส่วนนี้ไม่สามารถแยกการติเพื่อก่อ ออกจากการโดนด่าเฉย ๆ ได้
ในขณะเดียวกันเรามีสมองอีกส่วนคือ คอร์เทกซ์ บริเวณกลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex)
ซึ่งเป็นสมองส่วนที่สำคัญมากที่ทำให้มนุษย์เราแตกต่างจากสัตว์อื่น นั้นคือสมองส่วนจิตสำนึกที่เราใช้ในการตัดสินใจต่างๆ หรือเราเรียกว่า กิจบริหาร (executive function) ซึ่งสามารถประมวลผลเรื่องตรรกะและเหตุผลได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นมันจึงเหมือนมีเราสองคนอยู่ในคนเดียว และถ้าเราสังเกตดี ๆ เราจะพบว่าสมองส่วนต่าง ๆ นั้นพยายามอยากที่จะชนะในการตัดสินใจให้ได้
เรากินขนมแล้วหยุดไม่ได้ รู้ตัวอีกทีก็กินไปหมดถุงแล้ว
ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ากินแล้วอ้วน แล้วตอนกินนั้นก็รู้ว่าตัวเองไม่ได้หิวด้วย
เหตุการณ์แบบนี้เกินขึ้นเพราะสมองส่วน กิจบริหาร (executive function) พ่ายแพ้ต่อสมองส่วน เก่าแก่ (primitive) ของเรา
เหตุการณ์ที่มีคนไม่เห็นด้วยกับเรา และต้องการให้เราอธิบายมุมมองของเรา
คนส่วนใหญ่มักจะรู้สึกได้ถึงการถูกจู่โจมและปล่อยระบบป้องกันตัวเองออกมา
ทั้ง ๆ ที่ถ้ามองกันด้วยเหตุผลแล้วการถกเถียงในเรื่องที่มีคนไม่เห็นด้วยกับเรานั้นจริง ๆ เป็นเรื่องดี
เพราะเราจะได้เห็นมุมมองของคนอื่น
แต่โดยส่วนใหญ่เรามักจะพูดออกไปโดยไม่ไตร่ตรองก่อนเสมอ
ทำให้คำอธิบายของเราไม่สมเหตุสมผลเต็มร้อย
หรือบางทีข้อโต้แย้งก็เจือไปด้วยอารมณ์ที่ผสมอยู่
ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ฟังเหตุผลของอีกฝ่ายเลย
หลายครั้งที่สมองส่วน กิจบริหาร (executive function) ไม่สามารถทำงานได้ทัน
เราเลยพูดโดยไม่ไตร่ตรองให้ดีซะก่อน
แม้แต่คนที่ฉลาดมาก ๆ หลายคนก็เป็นแบบนี้ เพราะสำหรับเราตอนนั้น
ความจำเป็นที่จะต้องเป็นฝ่าย “ถูก” มันสำคัญกว่าการหาความจำเป็นในการหา “ความจริง”
ที่น่าสนใจอีกจุดนึง เวลาคนสองคนเถียงกัน
ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไรก็ตาม แม้จบการเถียงกันแล้ว
ทั้งฝ่ายที่ แพ้ ชนะ หรือเสมอ ก็ยังจะคิดว่าตัวเอง “ถูก” เสมอ
เรามัวแต่พยายามจะบอกอีกฝ่ายว่าสิ่งที่เราคิดนั้น “ถูก” อย่างไร
มากกว่าที่จะสนใจกระบวนการคิดของอีกฝ่ายนึง
เราตั้งสมมติฐานโดยเอาตัวเองเป็นที่ตั้งมากเกินไป
โดยเฉพาะเมื่ออีกฝ่ายพูดสิ่งที่ไม่ตรงกับความคิดเรา
ซึ่งหลายครั้งมันทำให้เราพลาดโอกาสอะไรดี ๆ ในชีวิตไป
เพราะเราไม่สนใจหรือไม่เข้าใจสิ่งที่อีกฝ่ายพยายามแสดงให้เห็น
แม้ว่าสิ่งนั้นจะมีประโยชน์หรือบางครั้งอาจจะถึงขั้นช่วยชีวิตเราได้ด้วยซ้ำ
คนที่ปิดกั้น (Closed-minded people) :
คนกลุ่มนี้ไม่ชอบให้ไอเดียของพวกเขาถูกท้าทาย
พวกเขามักรู้สึกหงุดหงิดเมื่อไม่สามารถทำให้คนอื่นเห็นด้วยกับความคิดพวกเขาได้
แทนที่จะอยากรู้ว่าคนอื่นคิดอย่างไร
พวกเขาสนใจที่จะพิสูจน์ว่าตัวเองถูกมากกว่าที่จะอยากรู้มุมมองของคนอื่น
คนที่เปิดกว้าง (Open-minded people) :
มักสงสัยว่าทำไมถึงเกิดการไม่เห็นด้วยเกิดขึ้น
พวกเขาไม่รู้สึกโมโหเมื่อมีคนไม่เห็นด้วยกับเขา
พวกเขาเข้าใจว่ามันมีโอกาสเสมอที่พวกเขาจะผิด
และเวลาเพียงเล็กน้อยที่จะใช้ในการพิจารณามุมมองของคนอื่นนั้น
คุ้มเกินคุ้ม เพื่อให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ครบถ้วนมากขึ้น
คนที่ปิดกั้น (Closed-minded people) :
มักจะแจ้งเพื่อทราบมากกว่าถามคำถาม
คนที่เปิดกว้าง (Open-minded people) :
มักจะถามคำถามจำนวนมากเพราะพวกเขาเชื่ออย่างแท้จริงมากเพราะอาจจะผิดก็ได้
พวกเขาจะถามคำถามอย่างจริงใจ และพวกเขาจะตั้งคำถามกับตัวเองด้วยว่า
ในเรื่องนี้เขามีความรู้ความสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นแค่ไหน
คนที่ปิดกั้น (Closed-minded people) :
ต้องการให้คนอื่นเข้าใจตัวเองมากกว่าพยายามจะเข้าใจผู้อื่น
เมื่อคนอื่นไม่เห็นด้วยพวกเขาจะรีบสันนิษฐานก่อนว่าตัวเองไม่ได้รับความเข้าใจ
โดยไม่พิจารณาว่าบางทีอาจจะเป็นเพราะเขาไม่เข้าใจมุมมองของคนอื่นก็ได้
คนที่เปิดกว้าง (Open-minded people) :
รู้สึกถึงความจำเป็นที่จะต้องมองจากมุมมองของผู้อื่นเสมอ
ประสพการณ์, เรื่องราวทั่วไป, แง่คิด, มุมมอง ที่น่าสนใจ - สิริพงษ์ พงศ์ภิญโญภาพ
Wednesday, October 14, 2020
Argue
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment