12 วิธีคิดที่ควรฝึกบ่อยๆ
เพราะต้องใช้ไปตลอดชีวิต
1 คิดต่าง (Think Differently)
การคิดต่างหรือที่หลายๆคนเรียกว่าคิดนอกกรอบ คือการฝึกให้ตัวเองคิดอะไรในแบบที่เราไม่เคยคิดมาก่อน กรอบในที่นี่ หมายถึงความคุ้นเคยในสิ่งที่เราคิดหรือทำแบบอัตโนมัติด้วยความคุ้นเคย การฝึกขั้นต้น เราควรห่วงแค่กรอบของเราเองก่อน เมื่อเราคิดนอกกรอบตัวเราเองได้จนเป้นนิสัยแล้ว เราค่อยขยายกรอบนั้นให้ใหญ่ขึ้นเป็นกรอบของคนหรือสังคมรอบตัวของเราต่อไป
การคิดต่างนั้น ยังไม่จำเป็นจะต้องออกมาในรูปแบบความคิดสร้างสรรค์ (จะพูดต่อไปในข้อ 4) แต่แต่ก็ถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญ เพราะการคิดต่างเป็นแค่การคิดให้เราหลุดออกจากกรอบที่ครอบตัวเราเองให้ได้เท่านั้นเอง
2 คิดล่วงหน้า (Foresee)
การคิดล่วงหน้าคือการที่เราฝึกมองล่วงหน้าว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้างและสิ่งนั้นจะมีผลกระทบกับเรามากน้อยอย่างไร ซึ่งสิ่งที่จะเกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับการที่เราจะทำหรือไม่ทำอะไรในวันนี้นั่นเอง การคิดล่วงหน้านี้รวมถึงการคาดการณ์สิ่งรอบตัวที่จะเปลี่ยนไปในโลกด้วย เพื่อเราจะได้เตรียมตัวรับมือไว้ก่อนที่สิ่งเหล่านั้นจะเกิดขึ้นจริง
3 คิดทางเลือก (Think of Alternative)
การคิดทางเลือก คือการรู้จักเปรียบเทียบอย่างเท่าเทียมถึงข้อดี ข้อเสีย ของสิ่งที่เรากำลังจะตัดสินใจ เช่นจะเลือกช้างสองตัวไหนดีระหว่างสองตัว ไม่ใช่เอามดไปเทียบกับช้าง
ปัญหาที่เจอบ่อยๆคือ เรามักเอาของที่ไม่ใช่เรื่องเดียวกันมาเปรียบเทียบกัน ผลที่ตามมาจึงผิดพลาด
4 คิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
หากไม่พูดถึงทักษะการคิดแบบสร้างสรรค์ก็คงจะผิดปกติแน่นอน การคิดสร้างสรรค์หมายการคิดถึงสิ่งที่เราทำ เห็น เป็น และคุ้นเคย แล้วหาวิธีทำให้ออกมาเป็นสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม การคิดสร้างสรรค์รวมไปถึงการใช้การออกแบบ จินตนาการต่างเข้ามาเป็นส่วนในการคิดซึ่งออกมาในหลากหลายรูปแบบ
5 คิดวิเคราะห์สาเหตุ (Root Cause Analysis)
การคิดวิเคราะห์สาเหตุได้ถูกต้อง คือรากฐานของการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เพราะเราจะไม่มีทางแก้ปัญหาได้เด็ดขาดถ้าเราไม่รู้ว่าต้นตอของปัญหาอยู่ตรงไหน
คนส่วนใหญ่มักบอกปัญหาได้ แต่ไม่สามารถบอกถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้ คนที่สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้จึงเป็นคนที่โลกต้องการตัวมากเพราะการแก้ปัญหาจากที่ต้นเหตุ คือการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
6 คิดเชื่อมโยง (Connecting and Applying)
การคิดเชื่อมโยงคือความสามารถในการคิดเอาเรื่องราว ประสบการณ์ ความรู้ต่างๆจากหลากหลายแหล่งที่มา มาร้อยเรียงเป็นเรื่องเพื่อให้เห็นภาพใหญ่ของสิ่งที่เรากำลังต้องการศึกษา ส่วนตัวผมคืดว่าเป็นทักษะที่จำเป็นมากกับชีวิตในยุคปัจจุบันที่เรามีข้อมูลมากมายจนอ่านกันแทบไม่ไหว แต่ทำไมเราถึงไม่สามารถนำมันมาใช้ประโยชน์เท่าที่ควร
ถ้าเราสามารถคิดเชื่อมโยงได้เก่ง เราจะมาสามารถเอาเรื่อที่เรารู้จากตรงนั้นไปประยุกต์ใช้กับตรงนี้ ปรับเปลี่ยน แก้ไขได้ทันท่วงทีโดยไม่ต้องไปนั่งค้นคว้าหาข้อมูลใหม่ทุกครั้งที่เจอกับปัญหา
7 คิดตั้งคำถามท้าทายกับปัญหา
คนเราจะแก้ปัญหาไม่ได้ถ้าไม่รู้จักตั้งคำถามที่ท้าทายกับปัญหาที่อยู่ตรงหน้า คำถามที่เราตั้งคิดถามคือ ถ้าเราไม่แก้ปัญหาด้วยวิธีเดิมๆ อะไรคือทางเลือกของเราได้บ้าง
มากกว่า 90% ของปัญหาที่คาราคาซังอยู่บนโลกใบนี้ สามารถแก้ได้ถ้าเรากล้าตั้งคำถามที่แรงและอยู่บนสมมติฐานใหม่ๆ ไม่ยึดติดกับแนวคิดการแก้เดิมๆและก็ทำได้เพียงแก้ปัญหาไปทีละขั้นสองขั้น
8 คิดเป็นเหตุเป็นผล
คือการที่เราสามารถคิดย้อนถึงไปถึงสาเหตุของเรื่องที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันได้ว่า เพราะอะไรและทำไมถึงเกิดสิ่งนี้ขึ้นมา ณ ปัจจุบัน การคิดย้อนนั้น จริง ๆ ต้องย้อนขึ้นไปหลายขั้นจนกว่าจะเจอสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิด ใครคิดย้อนไปได้ไกลเท่าไหร่ ก็มีโอกาสแก้ไขป้องกันสิ่งเดิมไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้มากขึ้น
การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลถือเป็นการคิดตามหลักศาสนาพุทธ (เพราะมีสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิด) ที่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกสังคมโลก
9 คิดเชิงโครงสร้าง (Structural Thinking)
การคิดถึงที่มาของคำตอบ ว่ามีที่มาอย่างไร ใช้หลักอะไรในการคิด แม้ว่ารายละเอียดของคำตอบอาจจะไม่ถูกต้อง แต่การไล่เรียบที่มาของคำตอบนั้นเต็มไปด้วยตรรกะที่สมเหตุผล มีวิธีการคิดที่ชัดเจน
10 คิดนอกกรอบ (Think Out of the Box)
การคิดหาคำตอโดยไม่ยึดกับกรอบเดิมที่ตุ้นเคย มักจะเป็นการคิดเพื่อแก้ปัญหาเดิมแต่ด้วยวิธีใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิธีการเดิม
กลุ่ม stratup ที่มักไป disrupt ธุรกิจต่าง ๆ ก็ใช้วิธีการคิดนี้เป็นวิธีหลักเพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ฉีกกฏเดิมที่เคยมีมาในธุรกิจนั้น บรรดา Startrup จำเป็นต้องคิดและทำแบบนี้เพราะหากทำวิธีเดิม จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลย
11 คิดเท่าที่จำเป็น (Think only Necessary)
การคิดเท่าที่จำเป็นนั้นฟังเหมือนง่ายแต่จริงๆแล้วยากมาก มันหมายถึงความสามารถที่ว่า เรารู้ชัดเจนว่าสำหรับเรื่องนี้ เราต้องการข้อมูลแค่ไหนพอในการนำมาคิดประกอบการตัดสินใจ เคยเจอรึเปล่าว่า คนบางประเภทที่ขอข้อมูลเพิ่มแล้วเพิ่มอีก จาก 1 กลายเป็น 10 แล้วอาจยังไม่พอกับอีกคนคือ ขอข้อมูลแค่ 5 อย่างก็พอสำหรับการตัดสินใจ
12 คิดบทสรุป
การมีข้อมูลนับล้านอย่างแต่คิดวนไปวนมาหาข้อสรุปอะไรไม่ได้คือการเสียเวลามาก บทสรุปนี้หมายความถึงการตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำอะไรอย่างไร หรือสรุปผลเรื่องใดสักเรื่องให้ตกผลึกออกมาได้
การคิดบทสรุปให้ได้จึงถือเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องฝึกโดยเฉพาะในยุคที่เวลามีค่าขึ้นเรื่อยๆและเราไม่สามารถปล่อยเวลาให้ผ่านไปกับการมีกองข้อมูลมหาศาลตรงหน้าโดยไม่รู้จะเอามันไปทำอะไรต่อ
ทักษะการคิดก็เหมือนทักษะอื่นบนโลกนี้ นั่นคือมันฝึกกันได้ และยิ่งฝึกเราจะยิ่งเก่งและชำนาญขึ้น ใครที่ยังคิดไม่เก่ง ถ้าฝึกเป็นประจำก็จะเก่งและแซงคนที่คิดเป็นแต่ไม่ฝึกฝนเลยได้
ของแบบนี้ ฝึกกันได้ครับ
ที่มา https://www.facebook.com/677380392295285/posts/3520633704636592/
No comments:
Post a Comment