Thursday, July 24, 2014

Dealing with Poverty

"เด็กที่ไม่มีร่มกาง จึงจะมีความพยายามที่จะวิ่งฝ่าสายฝน"

บทความจีนเรื่องหนึ่ง ซึ่งสื่อถึงความพยามยาม ซื่อสัตย์อดทนของเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่ไม่ย่อท้อต่อความยากจนที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ไม่โทษว่าเป็นความผิดของพ่อแม่ที่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ ให้
ในทางกลับกัน เขากลับขอบคุณพ่อแม่ที่มอบ “ขา 1 คู่” ที่แข็งแรง เพราะเกิดในชนบทห่างไกลความเจริญ

ตอนที่พ่อเขานั่งถอนหายใจเฮือกใหญ่ ยื่นมืออันสั่นเทา ส่งเงิน 4,533 หยวน ที่ไปหยิบยืมมากจากทุกสารทิศให้กับเขา เขาเข้าใจดีว่า หลังจ่ายค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมในภาคการศึกษานั้น เป็นเงิน 4,100 หยวนแล้ว เขาจะเหลือเงินเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวและจิปาถะเพียง 433 หยวน เขาก็รู้ซึ้งแก่ใจดีว่า พ่อของเขาได้พยายามอย่างสุดความสามารถแล้ว คงไม่สามารถให้เขามากไปกว่านี้ได้
"พ่อครับ พ่อไม่ต้องห่วงลูกชายของพ่อนะ ลูกยังมี 2 แขนและ 2 ขาดีอยู่"
เขายิ้มสู้กับความขมขื่น และยิ้มปลอบใจพ่อ หันตัวออกและเดินไปตามทางภูเขาที่โค้งไปมา ขณะที่เขาหันตัวออกนั้น น้ำตาเขาก็ไหลออกมา
เขาสวมใส่รองเท้าพลาสติกกึ่งใหม่เดินตามทางบนเขาไกลถึง 120 ลี้

เมื่อถึงมหาวิทยาลัย หลังจากชำระค่าเล่าเรียนแล้ว เขาเหลือเงินในมือเพียง 365 หยวน เวลา 5 เดือนกับเงิน 300 กว่าหยวน จะอยู่ได้อย่างไร
หันมองไปดูนักศึกษาอื่นรอบข้าง ที่มีเครื่อง MP3 คล้องคอ สวมใส่เสื้อผ้าแบรนด์เนม เดินไปมา และยิ้มทักทายกันอย่างรวดเร็ว
พูดถึงอาหาร เขาจะกินเพียงแค่ 2 มื้อ และแต่ละมื้อต้องไม่ให้เกิน 2 หยวน นี่คือสิ่งที่เขาตั้งจะทำเพื่อให้มีรายจ่ายน้อยที่สุด มิฉะนั้นแล้ว เขาจะไม่สามารถอยู่รอดจนถึงวันสุดท้ายของภาคการศึกษานี้ได้
คิดไปคิดมา ในที่สุด เขาก็ตัดสินใจอย่างห้าวหาญ ซื้อโทรศัพท์มือถือมือสองมา 1 เครื่องด้วยเงิน 150 หยวน

ในวันต่อมา บอร์ดที่โฟสข้อความต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยนั้น ทุกๆกระดานจะมีแผ่นกระดาษใบเล็ก ๆ เขียนข้อความด้วยลายมือติดไว้ว่า “คุณต้องการให้ช่วยบริการอะไรไหม? หากคุณไม่ต้องการไปซื้ออาหารเอง ต้มน้ำดื่มเอง จ่ายค่าโทรศัพท์เอง ฯลฯ ขอให้ติดต่อข้าพเจ้าที่เบอร์..... คุณจะได้รับการบริการในเวลาอันรวดเร็วที่สุด ค่าบริการภายในมหา’ลัยครั้งละ 1 หยวน นอกมหา’ลัยภายในรัศมีไม่เกิน 1กิโลเมตรคิดค่าบริการครั้งละ 2 หยวน”

เมื่อได้ติดแผ่นโฆษณาลงบนกระดานต่าง ๆ แล้ว เบอร์โทรของเขา กลายเป็นหมายเลขที่ “hot” ที่สุดขึ้นมาทันที เริ่มด้วยรุ่นพี่ปี 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์เป็นคนแรกที่โทรเข้ามาบอกว่า “ฉันเป็นคนขี้เกียจ ตอนเช้าไม่อยากตื่นมาซื้ออาหาร เรื่องนี้ก็รบกวนคุณแล้วกัน”
 “ได้เลยครับ! ทุกวันเวลา 7 โมงเช้า ฉันจะไปส่งอาหารถึงห้อง(หอพัก)คุณ” พูดจบเขาก็ลงบันทึกรายการแรกของธุรกิจอย่างตื่นเต้น ก็มีเพื่อนนิสิตอีกคนส่งข้อความมาว่า “ไม่ทราบว่าจะไปซื้อรองเท้าแตะให้คู่หนึ่งได้ไหม? ส่งมาที่ห้องหมายเลข 504 รองเท้าเบอร์ 41เอาที่กันกลิ่นอับได้ด้วยนะ”

เขาเป็นเด็กฉลาด เข้ามาเรียนได้ไม่นาน ก็พบปรากฎการณ์ที่น่าสนใจ นั่นคือในรั้วมหาวิทยาลัยแห่งนี้ โดยเฉพาะนิสิตปี3และปี4 ใช้ห้องพักเป็น”ที่ซุกอาศัย” เขาให้นิยาม”ที่ซุกเอาศัย” ว่า คือกลุ่มเด็กที่มีฐานะทางครอบครัวดีหน่อย จะซุกอยู่แต่ในห้องพักทั้งวันทั้งคืน ไม่ว่าจะอ่านหนังสือ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ แม้กระทั่งอาหารการกินก็ไม่ยอมออกลงไปซื้อที่ด้านล่าง
ในขณะที่เขาเติบโตมาจากบนดอย ผ่านการเดินบนทางภูเขาที่ขรุขระและลาดชัน ทำให้เขามีขาที่เดินได้รวดเร็ว การขึ้นบันไดไปชั้น 5 ชั้น 6 นั้น สำหรับเขา แค่กระพริบตาก็ถึงแล้ว

ในบ่ายวันเดียวกัน มีนิสิตคนหนึ่งโทรมา ขอให้เขาไปซื้ออาหารจานด่วนนอกสถาบัน ซึ่งขายในราคามาตรฐานที่ 15 หยวนต่อจาน พอวางสายปั๊บ เขาก็งบึ่งไปอย่างรวดเร็วปานลมหมุน รวมเวลาที่ไปและกลับมาส่งถึงมือคนสั่ง ใช้เวลาไม่ถึง 10 นาที
นี่ก็เร็วเกินไปหน่อยกระมัง! นิสิตคนนั้นรู้สึกทึ่ง และรีบส่งเงินให้ 20 หยวน เขาทอนเงินคืน 3 หยวน โดยให้เหตุผลว่า เขาบอกแล้วว่า ค่าบริการนอกสถาบันคิด 2 หยวน

การทำธุรกิจ
จากการบริการที่มีประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือที่ได้รับความไว้วางใจ ทำให้ทุกห้องทุกหอ เมื่อมีสิ่งของที่จะซื้อ จะนึกถึงเขาขึ้นมา การมีธุกิจที่ร้อนฉ่าได้ขนาดนี้ ต้องถือว่าเกินความคาดหมายของเขาไปอย่างมาก มีบางครั้งที่เวลาพักจากชั่วโมงเรียน เมื่อเปิดดูข้อความในมือถือ จะพบกับรายการหลากหลายเกือบทุกชนิด ที่จะไหว้วานให้เขาไปทำให้

ในบ่ายวันหนึ่ง ฝนตกลงมาอย่างหนัก มีเสียงส่งข้อความทางโทรศัพท์ดังเข้ามา เป็นข้อความจากนิสิตหญิงคนหนึ่งแจ้งความจำนงว่า ต้องการร่ม 1 คัน ยิ่งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี พอเขาได้รับข้อความ เขาก็รีบวิ่งลุยฝนออกไป เนื้อตัวที่เปียกมะร่อกมะแร่ก เอาร่มไปส่งให้กับนิสิตสาว ทำเอาเธอประทับใจอย่างสุดซึ้ง ถึงกับโอบกอดเขาไว้ นั่นเป็นครั้งแรกที่ได้รับการโอบกอดจากสาว เขาได้แต่กล่าวคำขอบคุณ ๆ และไม่สามารถหยุดการไหลของน้ำตาได้ ….

พร้อมกับการเป็นที่รู้จักของเพื่อนๆ มากขึ้น ธุรกิจของเขาก็ยิ่งโตวันโตคืน
เวลาผ่านไปไวเหมือนพริบตา จากการที่เขาวิ่งส่งงานบริการ ภาคการศึกษาที่หนึ่งก็ได้สิ้นสุดลงแล้ว เขาได้กลับบ้าน ไปในช่วงฤดูหนาว

ที่บ้าน พ่อเฒ่ายังคงวิตกกังวลเรื่อง ค่าใช้จ่าย
ในการศึกษา ถัดไปของเขาอยู่ เขาเอาเงิน 1,000 หยวน ออกมา ยัดเยียดใส่มือพ่อ และพูดว่า “พ่อครับ ถึงแม้ว่า พ่อจะไม่ได้ให้บ้านที่มีฐานะกับผม แต่พ่อได้ให้ขา คู่ที่สามารถวิ่งได้ดีมาก ด้วยสองขาที่ พ่อให้มานี้ ผมสามารถ ‘วิ่ง'
 จนจบมหาวิทยาลัยและจะมีชื่อเสียงได้ครับ”

ปีการศึกษาต่อมา เขา ไม่ได้ทำงานคนเดียวอีกต่อไป เขารับเพื่อนร่วมงานที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะไม่ค่อยดี มาช่วยให้บริการทั้งในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย การให้บริการที่ขยายวงออกไปทำให้ค่อย ๆ
วิ่งไป วิ่งไป วิ่งไปไม่หยุดยั้ง เขากำลังวิ่งไปสู่ทางสำเร็จ

เขาให้นิยาม “กระปุกทอง” ของเขาไว้ที่ 5 แสนหยวน
ซึ่งชื่อจริงของเขาคือ นายเจียหนัน แซ่เฮอ จากตำบลเนินเขาห่างไกลชื่อ Daxinanling ตรงเข้า สู่วิทยาลัยครูประจำจังหวัด
ปัจจุบัน นอกจากเป็นนิสิตปี 3 แล้ว ยังเป็นตัวแทนจำหน่ายในมหาวิทยาลัย แต่เขาก็ยังเป็นชายหนุ่มคนเดิม ที่เรียบง่าย ทำงานหนัก อย่างการรับต้มน้ำ 1 กา และนำส่งให้ลูกค้าในเวลาอันรวดเร็วปานลม เพื่อให้ได้ เงินค่าจ้าง 1 หยวนเช่นเดิม

หากเป็นคุณ คุณจะจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร? จะเป็นเหมือนตัวเอกในเรื่อง หรือจะโทษความยากจนว่าเป็นความผิดของพ่อแม่ผู้ปกครองกับสังคมไหมนะ?

No comments:

Post a Comment